วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 8 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


เนื้อหาที่เรียน

เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซม
โครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง
สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ

โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1

ลักษณะของเด็กดาวน์

ลักษณะทั่วไป เด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ศีรษะเล็ก หน้าแบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น
ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน
ระบบผิวหนัง มีความยืดหยุ่นน้อย มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งแตกง่าย มีรอยจ้ำเป็นลาย และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมีน้อย ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร บางรายมีการอุดตันของลำไส้ และ/หรือ ไม่มีรูทวารตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจอาเจียนจนถึงอายุ 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง เด็กส่วนมากมีปัญหาเร่องท้องอืด และท้องผูกได้ง่าย
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด บางรายอาจมีโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร่วมด้วย และมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้บ้าง
ระบบประสาท สมองมีขนาดเล็ก ทำให้มีการรับรู้ ความเข้าใจช้า สติปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไปอาจมีปัญหาทางตา เช่น ตาเข สายตาสั้น ปัญหาการได้ยิน มีประสาทรับความรู้สึกต่างๆน้อยกว่าปกติ
ระบบหายใจ ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ และขับเสมหะไม่ดี
ระบบสืบพันธ์ อวัยวะเพศของผู้ชายอาจจะเล็กกว่าปกติ
ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมอง (Growth Hormone ,Thyroid Hormone ) อาจมีน้อยกว่าปกติ
ลักษณะนิสัย และอารมณ์ วัยเด็กจะเชื่องช้า เมื่อโตขึ้นร่าเริงแจ่มใส การเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี จะมีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัว และอารมณ์ของเด็กในทางที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน

ความช่วยเหลือที่เด็กดาวน์ควรได้รับ

วัยเด็ก เป็นวัยทองของชีวิต ทักษะต่างๆจะพัฒนาไปได้ถึงกว่า ร้อยละ 90 ในวัยนี้ เด็กควรได้รับการแก้ไขความพิการที่เป็นมาแต่กำเนิด การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าเรียน ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว บุคลากรทางการศึกษา และสาธารณสุข
วัยเรียน เมื่อเด็กได้รับการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะทางด้านร่าง และพัฒนาการแล้ว เด็กควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติใกล้บ้าน เพื่อให้ได้เรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับชีวิตจริงในชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว และบุคลากรทางการศึกษา
วัยทำงาน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกอาชีพจากสถานที่ทำงานจริงในชุมชน หรือสถานฝึกอาชีพต่างๆต่อจากนั้น ชุมชนควรเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้ทำงาน งานที่ทำอาจเป็นงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือใช้ทักษะไม่มากนัก ในปัจจุบันมีสถานประกอบการเอกชนหลายแห่ง เปิดโอกาสให้กับเด็กเหล่านี้ ได้ทำงาน และมีอาชีพที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับคนทั่วไป

การดูแลเด็กดาวน์
สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ

เด็ก Austitim
ความหมายถึงเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครูรวมทั้งผู้ร่วมงาน ก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก
Autism คืออะไร
โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก

อาการทางสังคม
เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา
เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง
ปัญหาด้านภาษา
เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก)
การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ
พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ
เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น รูป รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง
ความสามารถพิเศษ
เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ
การพัฒนาของเด็กปกติ
การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก
การวินิจฉัย
ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม

มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ

เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ
สาเหตุของ Autism
สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท

สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง
พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาด oxygen ขณะคลอด
โรคที่พบร่วมกับ Autism
ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก
ยาที่ใช้รักษาโรค Autism
ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
การเข้าสังคมและพฤติกรรม
ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ
การเลือกโครงการรักษา
เด็กแต่ละคนจะรักษาไม่เหมือนกัน การรักษาต้องขึ้นกับเด็กแต่ละคน การเลือกสถานที่รักษา ผู้ปกครองต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
โครงการรักษานี้เคยใช้กับเด็กอื่นบ้างหรือไม่
เด็กที่เข้าโครงการออกไปสู่โรงเรียนปกติกี่คน
พนักงานมีประสบการณ์หรือรับการอบรมมาหรือไม่
มีแผนงานอะไรบ้าง
มีโครงการพิเศษและโครงงานประจำวันอะไรบ้าง
มีเจ้าหน้าที่มากน้อยแค่ไหน
มีการบันทึกความก้าวหน้าอย่างไร มีดัชนี้ชี้วัดถึงความสำเร็จอย่างไร
เมื่อเด็กทำดีมีการให้รางวัลหรือไม่
สิ่งแวดล้อมปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่
มีการเตรียมผู้ปกครองไว้ดูแลเด็กที่บ้านหรือไม่
ราคา

วันอังคาร ที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 14






ช่วงนี้อ่านหนังสือพลางๆ  เตรียมตัวสอบกลางภาคค่ะ




วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่13


เนื้อหาที่เรียน

เรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

พัฒนาการ หมายถึง การเปลียนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

- พัฒนาการด้านร่างกาย
- พัฒนาการด้านสติปัญญา
- พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
- พัฒนาการด้านสังคม


เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก



สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. โรคพันธุกรรม

2. โรคของระบบประสาท

3. การติดเชื้อ

4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม

5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด

6. สารเคมี

7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การใช้ภาษา ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ


กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า

1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย (progressive encephalopathy)
2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร


2. การตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่

2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ

2.2 ภาวะตับม้ามโต

2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers

2.4 ระบบประสาทต่างๆ

2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)

2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย

3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ

4.การประเมินพัฒนาการ

วันอังคารที่ 14 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนสัปดาที่ 12


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสถานการณ์ของบ้านเมืองไม่ปกติ




ค้นคว้าเพิ่มเติม :
ความคิดและจิตใจของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ


เรื่อง ... อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์


ใน การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษมีสิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปมัก ท้วงติงหรือกังวลบ่อย ๆ ก็คือ ความมีจริยธรรมของเด็กกลุ่มนี้ เพราะคนทั่วไปตระหนักดีว่าหากเราช่วยผลักดันส่งเสริมเด็กกลุ่มนี้ให้โดดเด่น แต่ขาดจริยธรรม ก็จะเป็นเรื่องทำลายสังคมมากกว่าสร้างสรรค์สังคม ความเป็นห่วงเป็นใยนี้เป็นเรื่องสำคัญ และต้องยึดถือให้มีกลวิธีที่เป็นเครื่องอุ่นใจว่า เด็กที่เรามุ่งพัฒนาด้วยต้นทุนที่แพงแสนแพง จะไม่กลับมาทำร้ายและเอาเปรียบสังคมจนประเทศล่มสลายในภายหลังเพราะเด็กกลุ่ม นี้ร้ายแล้วร้ายนัก ร้ายลึกซึ้ง หากดีก็สามารถพลิกประเทศ พลิกสถานการณ์จากร้ายกลายเป็นดีได้เช่นกัน


ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้จึงต้องยึดถือไว้ในหัวใจว่า เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่ต้องการหาทางสร้างและส่งเสริมคนที่มีศักยภาพสูงให้มีหัวใจที่เป็นสาธารณะ มุ่งอุทิศตนเพื่อคนอื่น


การที่จะจัดโครงการให้กับเด็กกลุ่มนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครูและ ผู้ปกครอง จะต้องรู้จักและเข้าใจลักษณะธรรมชาติและความต้องการของเด็กกลุ่มนี้ให้ชัดเจนว่า เด็กกลุ่มนี้นอกจากธรรมชาติทางด้านความสามารถพิเศษที่มีอยู่นั้นสลับซับซ้อน พิสดารกว่าคนอื่น สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วทำได้ดีกว่าเด็กคนอื่นในสิ่งที่ตนถนัดแล้ว ลักษณะกลไกทางจิตใจก็ซับซ้อนละเอียดอ่อน ไม่แพ้กับพลังด้านความสามารถของพวกเขา


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้จึงไม่ควรละเลยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางจิตใจ และความเจริญเติบโตทางอารมณ์และสังคมของเด็ก หากเราเพิกเฉย มุ่งวัดและให้แรงเสริมแต่ด้านความสามารถของเขาอย่างเดียว ในอนาคตเราอาจได้หุ่นยนต์พิสดารที่เก่งสารพัดแต่ขาดหัวใจ หรืออาจได้ผู้ร้ายในคราบนักบุญ คราบนักบริหารระดับสูงที่บั่นทอนทำลายสังคมก็เป็นได้


พฤติกรรมทางด้านจิตใจของเด็กกลุ่มนี้ มีความละเอียดอ่อนยิ่ง และมีการรับรู้ที่ “ไว” เด็กกลุ่มนี้จึงมีพื้นฐานที่จะมี “ความรู้สึก” มากกว่า ลึกซึ้งกว่า ซับซ้อนกว่าเด็กทั่วไป โดยพื้นฐานแล้ว เด็กกลุ่มนี้มักสนใจในเรื่องศีลธรรมจรรยา ปรัชญาหรือประเด็นทางสังคม จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะชักจูงให้เด็กกลุ่มนี้พัฒนาตนเองเพื่อสังคม หากเขาได้พบกับต้นแบบที่ดีพอ มองเห็นตัวอย่างจากผู้ใหญ่ที่ยืนยันว่า คนเก่ง คนดี คนมีค่าของสังคมจะต้องเป็นอย่างไร


อย่าง ไรก็ตาม แรงผลักดันโดยพื้นฐานโดยธรรมชาติของเด็กพวกนี้ ไม่สามารถหล่อเลี้ยงและพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขได้ หากปราศจากปัจจัยสำคัญเกื้อหนุน เพราะแม้เด็กกลุ่มนี้จะมีความสามารถโดดเด่นหรือฉลาดลึกซึ้งเพียงใดก็ยังเป็น เด็กธรรมดา ที่ต้องการประสบการณ์จากผู้ใหญ่ จากการชี้แนะที่ดี และที่สำคัญเด็กเหล่านี้ยังต้องมีการเรียนรู้ภาวะจิตใต้สำนึกที่ดี นั่นคือ การได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัวความเข้าใจจากพ่อแม่ และมีพื้นฐานครอบครัวที่สมบูรณ์


เมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาเด็กกลุ่มนี้ต้องการความเข้าใจจากครู และผู้ที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากความต้องการการศึกษาที่เหมาะสมกับพวกเขา เพราะคนทั่วไปมักคิดว่า พวกเขายังเป็นพวกอภิสิทธิ์ชน ได้เปรียบคนอื่น รู้มากกว่า ไม่ต้องช่วยเหลืออะไร เขาก็ช่วยตัวเองได้ดี ในขณะที่เด็กกลุ่มนี้รู้สึกว่าตนเองด้อยโอกาสมีความกดดัน ความเจ็บปวดขมขื่น ตนเองแตกต่างไปจากคนอื่น


กลุ่มของ โคลัมบัส กล่าวว่า ความสามารถพิเศษนั้น คือความไม่ผสมกลมกลืนกันของพัฒนาการ กล่าวคือ พัฒนาการทางปัญญาและความสามารถต่าง ๆ มีอยู่อย่างเข้มข้น และมีผลกระทบทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ หรือการตระหนักรู้ที่แตกต่างจากคนทั่วไป ความไม่ผสมกลมกลืนนี้เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มที่มีศักยภาพสูงมากขึ้น เอกลักษณ์ของเด็กกลุ่มนี้บางทีแทนที่จะเป็นผลดี แต่กลับกลายทำให้พวกเขาอ่อนแอ และต้องการดูแลจากผู้ปกครอง ครู ในการให้คำแนะนำปรับปรุง เพื่อทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาเต็มตามศักยภาพได้ ซึ่งความไม่ผสมกลมกลืน (Asynchrony) หมายถึง “การขาดการผสมกลมกลืนหรือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอัตราการพัฒนาการของปัญญา อารมณ์ และร่างกาย” ความไม่ผสมกลมกลืนกันนี่เองที่ส่งผลให้เกิดความเครียดภายในได้ แต่ไม่สามารถขีดเขียนได้ตามจินตนาการหรือความต้องการของตนเองได้ ทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิด คับข้องใจ ที่สามารถพบได้เสมอ ๆ ในกลุ่มเด็กที่มีความสามารถในระดับสูงมาก (Highly Gifted)


ความไม่ผสมกลมกลืนภายในก็ก่อให้เกิดความลำบากในการปรับตัวภายนอก (External Adjustment) ไปด้วย และเด็กก็มักจะมีความรู้สึกว่าตนเอง “แตกต่าง” “ไม่มีที่เหมาะกับเขา” เพราะเด็กทุกคนต้องการหรือมีความรู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นที่ยอมรับ ความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ไม่เหมาะกับตัวเขาจึงเป็นเรื่องเจ็บปวดอยู่ไม่น้อยทีเดียว


จึงไม่แปลกที่เราจะพบว่า เด็กที่ฉลาดล้ำหรือกลุ่มพวกมีความสามารถเป็นเลิศ มีศักยภาพสูงยิ่ง กลับเป็นพวกที่อาจล้มเหลวได้ และอาจมีอาการที่พบบ่อยในเด็กกลุ่มนี้ คือ


1. ความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ (Low Self-Esteem) ซึ่งการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกว่าผู้อื่นไม่เห็นคุณค่าหรือความสำคัญของตนเอง เมื่อผู้อื่นทำผิดพลาดมักตำหนิผู้อื่น ชอบปกป้องตัวเอง และรู้สึกไม่พอใจอะไรง่าย ๆ นอกจากนั้น ยังทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดการตัดสินใจที่ดีในอนาคต
2. ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง (Loneliness) เพราะเนื่องจากคนไม่ค่อยเข้าใจความคิดความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษสูง ๆ จะรู้สึกว่า คนอื่นคิดและรู้สึกไม่เหมือนกับตน จึงทำให้เด็กมีพฤติกรรมการตอบสนองไปในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแล้วแต่พื้นฐานทางด้านจิตใจ การอบรมเลี้ยงดู รวมทั้งวิธีการคิดของเด็กด้วย
3. มีปัญหาในการปรับตัว จึงทำให้มีทักษะทางสังคมต่ำ (Low Social Skill) เด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถปรับความคิดของตนเองให้คล้อยตามกับความคิดของกลุ่มคนในสังคม เพราะระบบการคิดที่ต่างกันจึงทำให้เด็กเหล่านั้นไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้
4. ความเครียดสูง เพราะเนื่องจากความคาดหวังและสภาพแวดล้อมที่ตัวเด็กได้รับความกดดัน และระบบการศึกษา ซึ่งตัวเองต้องปฏิบัติตามในสิ่งที่ตนไม่สนใจ
5. กลัวความล้มเหลว โดยเฉพาะเด็กที่แสดงออกถึงความสามารถที่โดดเด่น ทำให้ผู้คนใกล้ชิดกับเด็กมักจะคาดหวัง และตัวเด็กเองก็มีแนวโน้มชอบทำอะไรสมบูรณ์ไม่มีที่ติ (Perfectionist) จึงทำให้เด็กพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความล้มเหลว
6. ขาดความมั่นใจในตนเอง (low Self-Confident) ทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก หรือในบางครั้งก็แสดงออกแต่ไม่เหมาะสมจึงทำให้ถูกตำหนิเมื่อจะทำอะไรใหม่ ๆ ทำให้ไม่กล้าแสดงออก
7. ทำงานไม่ค่อยเสร็จ เด็กที่มีความสามารถพิเศษมักมีความคิดดี เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้เร็ว คิดเก่ง แต่ลงมือทำมักทำไม่ค่อยสำเร็จ


จึงเห็นได้ว่า ลำพังความเข้าใจของครู หรือของพ่อแม่อาจไม่เพียงพอ นั่นหมายถึงโรงเรียนหรือหน่วยงานที่จัดการศึกษาให้เด็กกลุ่มนี้ ควรสร้างระบบหรือกลไกทางด้านการแนะแนวและจิตวิทยาควบคู่กันไป ที่มีทั้งครู พ่อแม่ นักแนะแนวและจิตวิทยาควบคู่กันไป ที่มีทั้งครู พ่อแม่ นักแนะแนว นักจิตวิทยา จิตแพทย์ มาร่วมกันอย่างมีระบบ โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างทักษะทางอารมณ์ สังคม จิตใจให้เด็ก เช่น ความมีศีลธรรมจรรยา ความศรัทธาในเรื่องต่างๆ ความเมตตา กรุณา ความรู้สึกที่ต้องการให้ตนเองเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ ความห่วงใยผู้อื่นการอุทิศตนให้สังคม การมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่มั่นคง และเข้มแข็ง มีความยุติธรรม มีความเข้าใจเรื่องสังคม มีความรับผิดชอบ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี


ในการเลี้ยงดูเด็กที่มีความสามารถพิเศษครูและผู้ปกครองควรมีแนวปฏิบัติดังนี้คือ
o มีความเข้าใจจุดเด่นและจุดด้อยของเด็ก
o ฝึกให้เด็กมีการยอมรับและเข้าใจตนเองและข้อจำกัดของตนเอง
o สร้างความมั่นใจว่าพ่อแม่หรือครูจะสนับสนุนเขา
o ฝึกการแก้ความขัดแย้งในตนเอง
o ฝึกการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
o ฝึกความสามารถด้านการติดต่อสื่อสาร
o ฝึกทักษะทางสังคม การยอมรับของคนอื่น
o ฝึกความสามารถในการมุ่งมั่น อดทน และเอาชนะอุปสรรคแทนที่จะเป็นคนก้าวร้าว
o ฝึกให้อยู่กับตนเองได้อย่างมีความสุข
o ฝึกให้เด็กสามารถลดภาวะกดดัน ภาวะเครียด
o ฝึกการสร้างอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี


กลไกทางจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคนคุมหางเสือทางปัญญาให้พัดพาไปทางดีหรือทางร้ายได้ ทั้งสิ้น หากเราอยากเห็น คนเก่ง คนดี และมีสุขในอนาคต เราคงต้องให้ความสำคัญกับการผลักดันโครงสร้างและกลไกทางจิตวิทยาและแนะแนว ให้มากกว่าที่เป็นอยู่อีกหลายสิบเท่า มิฉะนั้นในอนาคตเราอาจไม่มีแผ่นดินจะขายก็เป็นได้

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 7เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานเป็นกลุ่ม ซึ่งเนื้อหางานเกี่ยวกับความบกพร่องของเด็กพิเศษ โดยกลุ่มของดิฉันได้ออกไปนำเสนอเกี่ยวกับเด็กที่มีความพิการทางสมอง หรือ CP (Cereral palsy) และได้นำเสนอด้วยการแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับโรคนั้น ให้เพื่อนๆในห้องได้ดู และแต่ละกลุ่มก็จะมีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป

 ความรู้เพิ่มเติม


สมองพิการ (Cerebral Palsy) 
--------------------------------------------------------------------------------


ความหมาย

สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้

นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก เป็นต้น

สาเหตุ

อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี

โดยแบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ

1. ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาหรือระยะก่อนคลอด(prenatal period) นับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 6 เดือน ซึ่งได้แก่

1.1 ภาวะการติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส เริม มาเลเรีย เอดส์ เป็นต้น

1.2 ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ เช่น มารดาที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์คล้ายจะแท้ง หรือมีการลอกตัวของรกก่อนกำหนด มารดาขาดอาหารหรือซีดมาก

1.3 ภาวะขาดสารอาหารที่มีคุณค่าของมารดา เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ

1.4 มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน เด็กอาจตัวใหญ่ผิดปกติ ทำให้เกิดอันตรายจากการคลอดได้ หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงมาก อาจทำให้มีเลือดออกในสมองของเด็กได้

1.5 ยาและสารพิษบางอย่างที่มารดาได้รับมากเกินปกติ (ตะกั่ว ปรอท บุหรี่ สุรา)

1.6 ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด เช่น ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ สมองไม่เจริญ สมองลีบ สมองเล็ก

1.7 ความผิดปกติของโครโมโซม

1.8 รก และสายสะดือไม่สมบูรณ์

2. ระยะระหว่างคลอด(perinatal period)

นับตั้งแต่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์แรกหลังคลอด ได้แก่

2.1 เด็กคลอดก่อนกําหนด และเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย คือ ต่ำกว่า 2,500 กรัม จะมีความเสี่ยงสูงที่จะสมองพิการ

2.2 ภาวะการขาดออกซิเจนในเด็กระหว่างคลอด จากการคลอดลำบาก คลอดผิดปกติ เช่น คลอดท่าก้น หรือสายสะดือพันคอ เด็กสำลักน้ำคร่ำ หรือ การคลอดที่ต้องใช้เครื่องช่วย เช่น คีมคีบ หรือ เครื่องดูดศีรษะ

2.3 ภาวะกลุ่มเลือดมารดาและทารกไม่เข้ากัน ทำให้เด็กคลอดออกมาตัวเหลือง

2.4 การคลอดโดยใช้ยาระงับปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน หรือการฉีดยาเข้าไขสันหลัง เพื่อระงับปวดระหว่างคลอด อาจเสี่ยงกับการขาดออกซิเจนในเด็กได้



3.ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่

3.1 ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด การวางยาสลบ การจมน้ำ หรือมีอาการชัก

3.2 การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ โรคหัด เป็นต้น

3.3 อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง



อาการและอาการแสดง

ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ



โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มแข็งเกร็ง(สปาสติก : spastic)

เป็นชนิดที่พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกายปรากฏให้เห็นได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้

1.1 แบบครึ่งซีก จะมีอาการเกร็ง ของแขนและขาข้างเดียวกัน(spastic hemiplegia) โดยมักพบว่าแขนมีอาการมากกว่าขา และเห็นลักษณะผิดปกติของแขนชัดเจน คือ มีการเกร็งงอของข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือกำ ส่วนขาพบมีเท้าเกร็งจิกลง ลักษณะที่พบจะคล้ายในผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก

1.2 แบบครึ่งท่อน จะมีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง(spastic diplegia) พบว่ามีอาการเกร็งในส่วนของขามากกว่าแขนมากอย่างเห็นได้ชัด

1.3 แบบทั้งตัว จะมีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง พบว่ามีอาการเกร็งของส่วนของแขนและขาใกล้เคียงกัน หรือบางครั้งอาจพบว่ามีส่วนของแขนมากกว่าขา (spastic quadriplegia)



2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)

แบ่งได้ดังนี้

2.1. อะธีตอยด์(athetoid) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่แน่นอน ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวมากที่มือและเท้า บางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย

2.2 อะแทกเซีย(ataxia) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยจนถึงปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และอาจเกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกายร่วมด้วยได้



3.กลุ่มอาการผสมกัน(mixed type)

พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง



ปัญหาและความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ

1. ภาวะปัญญาอ่อน เด็กสมองพิการจะมีระดับสติปัญญาอยู่ในทุกระดับ พบว่ามีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ คือมีปัญญาอ่อนระดับน้อย ร้อยละ 20 และปัญญาอ่อนระดับปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 30-40

การทดสอบระดับสติปัญญา(psychological test) โดยทั่วไปอาจไม่ได้บอกถึงระดับสติปัญญาที่แท้จริง เนื่องจากเด็กสมองพิการมักจะมีปัญหาร่วมอย่างอื่น เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย เด็กขาดการกระตุ้น ขาดแรงจูงใจและขาดประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กมักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ



2. ด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด เด็กสมองพิการมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การสำรวจและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าใจความผิดปกติของตำแหน่ง ทิศทาง ความหยาบ ความละเอียด รูปทรง ความรู้สึกร้อนหนาว และไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างและส่วนต่างๆของร่างกาย (body image)ว่าอยู่ในตำแหน่งใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร



3. ด้านอารมณ์และสังคม จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เด็กสมองพิการมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้



4. โรคลมชัก พบว่าประมาณ ร้อยละ 20-50 ของเด็กสมองพิการมีอาการชักร่วมด้วย การพยากรณ์ของโรคพบว่าค่อนข้างรุนแรง แต่ต้องแยกจากอาการชักที่เกิดในสัปดาห์แรกหลังคลอดแล้วไม่เกิดอีก หรือการชักจากไข้สูงในเด็กเล็กๆ ซึ่งพวกนี้การพยากรณ์ของโรคจะดีกว่า บิดาและมารดาควรพาเด็กมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะเด็กที่มีโรคลมชักต้องการการดูแลเป็นพิเศษและควริปรับยาเป็นระยะๆ เพื่อให้เหมาะสมกับอาการของเด็กในระยะนั้นๆ



5. ด้านการมองเห็น เด็กสมองพิการมักจะมีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น โดยพบว่ามีตาเหล่ได้บ่อยถึงร้อยละ 20-60 โดยเป็นตาเหล่เข้าในมากกว่า ถ้าทิ้งไว้นานตาจะรับภาพเพียงข้างเดียว ทำให้การรับความตื้นลึกของภาพผิดปกติด้วย ความผิดปกติอื่นๆ ทางตาที่อาจพบได้ในเด็กสมองพิการ คือไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนพร้อมกันได้ หรือ มีตาดำกระตุก(nystagmus) ร่วมด้วย ส่วนเรื่องสายตาสั้นยาวนั้น พบได้มากถึงร้อยละ 25-75 เด็กจึงควรได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์ในครั้งแรก และรับการตรวจในวัยเข้าเรียนอีกครั้ง



6. ด้านการได้ยิน เด็กสมองพิการอาจจะมีความผิดปกติของการได้ยินเนื่องมาจากความบกพร่องของหูส่วนกลาง โดยเฉพาะการแยกเสียงความถี่สูง เมื่อมีปัญหาในหูชั้นกลางทำให้เด็กได้ยินเสียงน้อยลง เช่น การพูดอย่างนิ่มนวล เมื่อพ่อแม่หรือผู้เกี่ยวข้องพูดด้วยเสียงระดับนี้ เด็กอาจะไม่ได้ยินต้องพูดซ้ำๆ เด็กจะได้ยินเมื่อมาพูดใกล้ๆ ถ้าตะโกนอาจทำให้เด็กตกใจกลัว ร้องไห้ ทำให้มีผลต่ออารมณ์ของเด็กได้



7. การสื่อความหมาย เด็กสมองพิการจะมีความบกพร่องทางด้านภาษาพูด โดยสาเหตุที่เด็กไม่สามารถควบคุมศีรษะได้ ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ว่าอะไรทำให้เกิดเสียงนั้นๆ และไม่สามารถเลียนแบบเสียง หรือติดต่อสื่อสารได้ ตัวอย่างของความผิดปกติของการพูด ได้แก่ ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าปกติ หรือมีความยากลำบากในการพูด ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้พูด หรือความผิดปกติในเนื้อสมองที่ควบคุมเกี่ยวกับการสื่อสารและภาษา รวมทั้งระดับสติปัญญาด้วย



8. ด้านกระดูก เด็กสมองพิการมักจะพบการหลุดออกจากที่(dislocation) หรือการเคลื่อนออกจากที่บางส่วน(subluxation) ของข้อต่อต่างๆของร่างกาย เช่น ข้อสะโพก, ข้อไหล่ เป็นต้น อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด (scoliosis), การหดรั้ง และเท้าแปแต่กำเนิด(equinus) เป็นต้น



9. ด้านฟันและร่องปาก เด็กสมองพิการมักพบปัญหาฟันผุได้บ่อย เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากทำได้ยากลำบาก เด็กไม่สามารถอ้าปากหรือบ้วนน้ำเองได้ ซึ่งถ้าขาดการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากที่ดีหรือทำได้ไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมาได้ บิดาและมารดาควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เป็นระยะๆ


การดูแล/รักษา

เนื่องจากเด็กสมองพิการมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดประกอบไปด้วยปัญหาด้านต่างๆ รวมกันหลายอย่าง เช่น ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ปัญหาด้านการใช้มือ ปัญหาด้านการดูดกลืน ปัญหาด้านการสื่อสาร ปัญหาด้านสติปัญญา สังคมและอารมณ์ รวมถึงสภาพสิ่งแวดล้อมและครอบครัว

การให้การดูแลรักษาเด็กสมองพิการนั้นควรได้รับการดูแลรักษาทั้งหมดในทุกๆ ด้าน โดยอาศัยความร่วมมือของเด็ก ครอบครัว และทีมงานผู้ให้การรักษา

การได้รับความรักและการดูแลรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการมารับการรักษาเมื่อมีอายุมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคด้วย



การรักษา แบ่งตามปัญหาที่พบ ดังนี้

การรักษาทางกายภาพบำบัด

การรักษาทางกายภาพบำบัดเริ่มให้การรักษาตั้งแต่แรกเกิด การรักษาไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับลักษณะของความผิดปกติและความรุนแรงของพยาธิสภาพ โดยโปรแกรมการรักษา จะกำหนดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเฉพาะตัว ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะเริ่มจากการตรวจประเมินพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและการทรงท่า เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีหลักการรักษาทางกายภาพบำบัด ดังนี้

1.ปรับและควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด และป้องกันการผิดรูปของข้อต่อต่างๆ เมื่อพบว่าเด็กมีอาการเกร็งที่แขนและขา มากกว่าเด็กปกติ สามารถให้การรักษาโดย

1.1. การจัดท่าให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายอยู่ในแนวที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การจัดท่านอนหงาย โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะและใต้สะบักให้อยู่ในท่างอเล็กน้อย และรองใต้เข่าให้มีการงอเล็กน้อย ให้มีการงอสะโพกและข้อเข่าเพื่อช่วยลดอาการเกร็งของขา

1.2. การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อและความยาวของกล้ามเนื้อ ทำได้โดย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดการหดสั้นและนำมาซึ่งความผิดรูปของข้อต่อ เช่น การยืดแขน โดยใช้มือกางเหยียดนิ้วหัวแม่มือพร้อมทั้งนิ้วทั้งสี่ออก กระดกข้อมือหงายมือพร้อมเหยียดศอกจนเต็มช่วงการเคลื่อนไหว และการยืดขา โดยจับข้อเข่าให้งอเล็กน้อย อีกมือจับข้อเท้าให้กระดกขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค่อยๆ ดันให้ข้อเข่าและข้อสะโพกงอ

2. กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงท่าอยู่ได้

โดยการฝึกรูปการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ถูกต้องตามพัฒนาการที่ปกติหรือใกล้เคียงปกติ เช่นการฝึกชันคอ พลิกตะแคงตัว การลุกขึ้นนั่ง การนั่งทรงตัว การคืบ การคลาน ยืน และเดิน การฝึกการทรงตัว เช่นการฝึกทรงตัวบนบอลเพื่อส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมการทรงท่า หรือการเดินบนทางแคบ เดินบนพื้นผิวที่มีลักษณะต่างกัน



3.การใช้เครื่องช่วยและอุปกรณ์พิเศษทางกายภาพบำบัด

เพื่อใช้ในการจัดท่าทาง เพื่อส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทรงท่า และจำกัดท่าทางหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น หมอนรูปลิ่ม อุปกรณ์ฝึกยืน หรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนที่ เช่น อุปกรณ์ฝึกเดิน



การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

ได้แก่ การตรวจประเมินพัฒนาการด้านใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การฝึกการดูดกลืน การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือเพื่อป้องกันข้อติดแข็งและการผิดรูปของข้อต่อ กระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัส การจัดระเบียบการรับรู้และตอบสนอง เป็นต้น



การรักษาการแก้ไขการพูด

ได้แก่ การตรวจประเมินความสามารถทางด้านภาษาและการพูด ฝึกแก้ไขการพูด



การรักษาด้วยยา

-ยากิน สามารถลดความเกร็งของกล้ามเนื้อได้ในระดับหนึ่งแต่ผลข้างเคียงคือ อาการง่วงนอน ยามีผลลดความเกร็งของกล้ามเนื้อทุกมัด ดังนั้นจึงไม่สามารถแก้ความผิดรูปของข้อได้

-ยาฉีดเฉพาะที่ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ผลิตจากสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ทำให้การนำประสาทส่วนปลายถูกขัดขวางเมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งได้ และลดความผิดรูปของข้อได้ แต่ยาออกฤทธิ์เพียงชั่วคราว ภายใน 3-4 เดือน จะหมดฤทธิ์ กล้ามเนื้อจะกลับมาเกร็งอีก เด็กสมองพิการ มีกล้ามเนื้อที่เกร็งผิดรูปหลายมัด ถ้าจะแก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั้งหมด ต้องใช้ปริมาณยามากและยาฉีดในกลุ่มนี้มีราคาแพงมาก สำหรับคนไข้ที่ข้อแข็งมาก การฉีดยาจะไม่ช่วยอะไร



การรักษาด้วยการผ่าตัด

-การผ่าตัดลดความตึงของกล้ามเนื้อโดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดตึง, การย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ

-การผ่าตัดกระดูก ในรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่ามีความเหมาะสมในการผ่าตัดหรือไม่



การรักษาด้านอื่นๆ

เช่น การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ น้ำลายยืด การใช้เครื่องช่วยฟัง การใช้ยาควบคุมการชัก รวมถึงปัญหาด้านจิตเวช



การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมร่วมกับการรักษา

เด็กสมองพิการชนิดเกร็งมักจะมีอุปกรณ์พิเศษเข้ามาช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า (ankle foot orthoses-AFO) เพื่อป้องกันการยึดติดของเอ็นร้อยหวายในเด็กที่มีข้อเท้าจิกเกร็งลง และมีการเกร็งแอ่นของเข่าที่เป็นผลจากการจิกเกร็งลงของข้อเท้า การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) รองเท้าตัด เป็นต้น



การศึกษาในเด็กสมองพิการ ส่วนใหญ่เด็กสมองพิการมีระดับสติปัญญาปกติแต่มีปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนไหวทำให้มีความยากลำบากในการเข้ารับการศึกษา



การให้คำแนะนำในการดูแลรักษาเด็ก ซี.พี แก่พ่อแม่เด็ก เพื่อทราบถึงปัญหาของเด็กอย่างชัดเจน ตลอดจนการดูแลเด็กในขณะอยู่บ้าน

วันอังคาร ที่ 31 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10

*** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดเทศกาลปีไหม่






วัน อังคาร ที่ 24 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9




หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด



ข้อมูลข่าวสารที่นำมาฝากค่ะ^^

โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขากรุงเทพฯ 








เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้รับพระกรุณาจาก
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศึกษาสำหรับเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน แห่งที่ 2 ของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

จากพลังของผู้มีจิตศรัทธา ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนได้เป็นศูนย์รวมแห่งความเมตตาอาทรของบุคคลและคณะบุคคลต่างๆ ที่ได้ร่วมใจเสียสละเพื่อประโยชน์ของเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน

ที่มาของบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน รามอินทราแห่งนี้ เกิดมาจากพลัง
ของสังคมที่มีต่อผู้พิการทางสายตา ในปี พ.ศ. 2528 มีเยาวชนตาบอดจำนวน 40 คน จากโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น ได้อาสาเดินทางไกลการกุศล "ยังไม่สิ้นซึ่งความหวัง" ขอนแก่น – กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เป็นเวลากว่า 10 วัน ผลจากความวิริยะอุตสาหะของเยาวชนตาบอดในครั้งนั้นทำให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งชาวไทย
และต่างประเทศได้สละทุนทรัพย์ประมาณ 3 ล้านบาท



ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิฯได้นำมาจัดตั้งบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน ยังผลให้มีแหล่งบริการเลี้ยงดูและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเด็กตาบอดเหล่านี้ ด้วยความช่วยเหลือจากพี่น้องชาวไทย<br>ทุกสาขาอาชีพ คณะกรรมการมูลนิธิฯจึงได้มีความเห็นว่า ควรจะมีสถานศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับเด็กกลุ่มนี้จึงได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทราขึ้น แม้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในยุคที่ประเทศไทยมีระเบียบกฎหมายที่เกื้อกูลต่อคนพิการ การมีโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปัน การสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ด้วยโอกาสที่ขาดทางเลือกให้มีที่นั่งและที่ยืนในสังคม สถานศึกษาแห่งนี้ดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนประจำ รับนักเรียนตั้งแต่ เตรียมอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่6 อายุระหว่าง 2 ขวบถึง 16 ปี จากนั้นพวกเขาจะถูกส่งไปศึกษาต่อที่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 หากมีความสามารถในการศึกษาในระดับสูงขึ้นไปจะมีโอกาสไปเรียนต่อในสถานศึกษาอื่น ๆ ของมูลนิธิฯ หรือเข้าฝึกอบรมด้านวิชาชีพ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จังหวัดนครนายก