วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน อังคาร ที่ 24 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9




หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด



ข้อมูลข่าวสารที่นำมาฝากค่ะ^^

โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขากรุงเทพฯ 








เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้รับพระกรุณาจาก
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศึกษาสำหรับเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน แห่งที่ 2 ของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

จากพลังของผู้มีจิตศรัทธา ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนได้เป็นศูนย์รวมแห่งความเมตตาอาทรของบุคคลและคณะบุคคลต่างๆ ที่ได้ร่วมใจเสียสละเพื่อประโยชน์ของเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน

ที่มาของบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน รามอินทราแห่งนี้ เกิดมาจากพลัง
ของสังคมที่มีต่อผู้พิการทางสายตา ในปี พ.ศ. 2528 มีเยาวชนตาบอดจำนวน 40 คน จากโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น ได้อาสาเดินทางไกลการกุศล "ยังไม่สิ้นซึ่งความหวัง" ขอนแก่น – กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เป็นเวลากว่า 10 วัน ผลจากความวิริยะอุตสาหะของเยาวชนตาบอดในครั้งนั้นทำให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งชาวไทย
และต่างประเทศได้สละทุนทรัพย์ประมาณ 3 ล้านบาท



ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิฯได้นำมาจัดตั้งบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน ยังผลให้มีแหล่งบริการเลี้ยงดูและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเด็กตาบอดเหล่านี้ ด้วยความช่วยเหลือจากพี่น้องชาวไทย<br>ทุกสาขาอาชีพ คณะกรรมการมูลนิธิฯจึงได้มีความเห็นว่า ควรจะมีสถานศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับเด็กกลุ่มนี้จึงได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทราขึ้น แม้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในยุคที่ประเทศไทยมีระเบียบกฎหมายที่เกื้อกูลต่อคนพิการ การมีโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปัน การสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ด้วยโอกาสที่ขาดทางเลือกให้มีที่นั่งและที่ยืนในสังคม สถานศึกษาแห่งนี้ดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนประจำ รับนักเรียนตั้งแต่ เตรียมอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่6 อายุระหว่าง 2 ขวบถึง 16 ปี จากนั้นพวกเขาจะถูกส่งไปศึกษาต่อที่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 หากมีความสามารถในการศึกษาในระดับสูงขึ้นไปจะมีโอกาสไปเรียนต่อในสถานศึกษาอื่น ๆ ของมูลนิธิฯ หรือเข้าฝึกอบรมด้านวิชาชีพ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จังหวัดนครนายก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น