วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคาร ที่ 19 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 3

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุภาพ (Children with Physical and Health Impairments)

  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • มีปัญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
จำเเนกได้ดังนี้
1.) เด็กซีพี (CP;Cerebrai Palsy )

  • การเป็อัมพาตเนื่องมาจากระบบประสาทพิการ หรือมีผลกระทบมาจากสมองที่กำลังพัฒนาการถูกทำรายก่อนคลอด ระหว่างคลอดเเละหลังคลอด
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล้าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากสวนต่างๆของสมองเเตกต่างกัน
อาการ

  1. อัมพาตเกร็งเเขนขา หรือครึ่งซีก Spastic
  2. อัมพาตของลีลาผิดปกติ Athetoid
  3. อัมพาตสูญเสียการสรงตัว Ataxia
  4. อัมพาตตึงแขน Rigid
  5. อัมพาตแบบผสม Mixed
2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง Muscular Distrophy

  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
  • มีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่งลง สติปัญญาเสื่อม
3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)

  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนล่างเเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อมีการติดเชื้อ เช่น วัณโรค กระดูกหลังโก่ง กระดูผุ เป็นแผลเรื้อรังเป็นหนอง เศษกระดูกผุ
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสพ
4. โปลิโอ (Poliomyelitis)
มีอาการกล้ามเนื้อลีบ เล็ก แต่ไม่มีผลกระทบกับสติปัญา
อาการ

  • ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาะให้ยืนได้ด้วยอุกรณ์เสริม
5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
6.โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)

2.) ความบกพร่องทางสุขภาพ
     1. โรคชัก (Epilepsy)เป็นลักษณะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบสมอง

  • โรคลมบ้าหมู (Grand Mal)

เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชัก กล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น

  • การชักในเวลาสั้นๆ (Petit Mal)
- เป็นการชักในช่วงเวลาสั้นๆ 5-10 วินาที
- เมื่อมีอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
- เด็กจะนั่งเฉย หรืออาจจะตัวสั่นเล็กน้อย

  • การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
- เมื่อมีการชักเด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึกล้มลงกล้ามเนื้อเกร็งเกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วคู่

  • อาการชักแบบ Partial Complex
- เกิดอาการเป็นระยะๆ
- กัดริมฝีปากไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา
- บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก

  • อาการไม่รู้ตัว (Focal Partial)
- เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะ เด็กไม่รู้ตัว อาจทะอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง เดินเหม่อลอกแต่ไม่มีอาการชัก


  • สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่ายการ
  1. โรคระบบทางเดินหายใจ
  2. โรคเบาหวาน  (Diabetes Mellitus)
  3. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
  4. โรคษีรษะโต (Hydrocephalus)
  5. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
  6. โรคมะเร็ง
  7. เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
  • ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  1. มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  2. ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  3. เดินขากระเผลก หรือเดินเชื้องช้า
  4. ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
  5. มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
  6. หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
  7. หกล้มบ่อยๆ
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูกและภาษา
คือ เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามระดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดั่งต้องการ มีอาปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
     1. ความผิดปกติทางด้านการออกเสียง
  • ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
  • เพิ่มหน่วยเสียงเข้าไปในคำโดยไม่จำเป็น
  • เอาเสียงหนักมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด เป็น ฟาด
     2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
     3. ความผิดปกตด้านเสียง
  • ระดับเสียง
  • ความดัง
  • คุณภาพเสียง
     4. ความผิดปกติด้านการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasis 
  • Motor aphasia 
- พูดช้าๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
- เด็กที่เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงไม่ออก
- พูดไม่ถูกไวยกรณ์
  • Wernicke's aphasia 
-เด็กไม่เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจคำถาม
-ออกเสียงไม่ติดขัดแต่มักออกเสียผิด หรือใช้คำที่ไม่มีความหมาย
  • Conduction  aphasia 
-เด็กที่ออกเสียงไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดีแต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักรวมไปถึงกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
  • Nominal aphasia 
-เด็กที่ออกเสียงได้  เข้าใจคำถามดี พูดตามได้แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ  มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
  • Global aphasia 
-เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
-พูดไม่ได้
  • Sensory aphasia 
-เด็กที่เขียนเองไม่ได้ เขียนคำตอบ คำถามหรือเขียนชื่อวัตถุไม่ได้  มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
  • Motor aphasia 
-เด็กที่ลอกตัวอักษรหรือเขียนลอกตามไม่ได้
-เขียนตามตัวพิมพ์ไม่ได้ เกิดจากสมองซีกซ้าย
-เขียนตามคำบอกไม่ได้
  • Cortical alexia
-เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
  • Motor alexia
-เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมายแต่อ่านออกเสียงไม่ได้
  • Gerstmann's synbrome
-ไม่รู้น้ำ finger agnosia
-ไม่รู้ซ้าย-ขวา allochiria
-คำนวนไม่ได้ acalculia
-เขียนไม่ได้ agraphia
-อ่านไม่ออก alexia
  • Vrsual agnosia
-เด็กที่มองเห็นวัสถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไรบางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
  • Auditory agnosia
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่แปลความหมายของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา

  • ในวัยทารกมักเงียบผิดปกติ ร้องไห้บ่อยๆและอ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
  • ไม่พูดภาษาในอายุ 2 ขวบ
  • หลัง 3 ขวบแล้วเด็กยังเข้าใจภาษายาก
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง 5 ขวบ เด็กยังใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
  • มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุตะกัก
  • ใช้ท่าทางในการสือความหมาย






วันอังคาร ที่ 22 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่2

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ(Children with special needs)
มีความหมาย 2 รูปแบบ

  1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ" หมายถึง เด็กที่มีความผิกปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจมีความผิดปกติ ความบกพร่องทางด้านร่างการ การสูญเสียสมรรถภาพทางร่างการและทางจิตใจ
  2. ทางการศึกษา หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพราะของตนเอง ซึงจำเป็นต้องจักการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
สรุป

  • เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามรถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
  • ไม่สาเหตุมาจากสภาพความบกพร่องทางร่างการ สติปัญญาและอารม
  • จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วเหลือ บำบัด ฟื้นฟู มากกว่าเด็กปกติ
  • จักการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละคน
ประเภทของเด็กที่มมีความต้องการพิเศษ
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่

1.) กลุ่มเด็กที่มีลักษญะทางความสามรถสูง
 มีความเป็นเลิศในต้านสติปัญญาโดทั่วไปเรียกว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
2.)กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง 
กระทรวงศึกษาธิการแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได่แก่
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปํญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเท่ากับเด็กในระดับอายุเดียวกัน (IQต่ำ)
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. เด็กเรียนช้า
  • สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  • เด็กที่ความสมารถในการเรียนล่าช้ากว่าปกติ
  • มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาเพียงเล็กนุ้อย
  • มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหต
1. ภายนอก
  • เศรษฐกิจทางครอบครัว
  • การเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับเด็ก
  • สภาพทางด้านอารมของคนในครอบครัว
  • การเข้าเรียนไมาสม่ำเสมอ
  • วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2. ภายใน
  • พัฒนาการช้า
  • การเจ็บป่วย ได้แก โรคประจำตัว
2. เด็กปัญญาอ่อน
  • เด็กที่มีพัฒนาการหยุดชะงัก
  • แสดงลักษณะเฉพาะคือ ปัญญาต่ำ
  • มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย
  • มีความจำกัดในด้านทักษะ
  • มัพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  • มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
     1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก  IQ ต่ำกว่า 20
ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆได้เลย ต้องการการดูแลจากพยาบาลเท่านั้น
    2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
ไม่สามรถเรียนได้ต้องการเฉพาาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ
    3. ปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆได้ สามารถฝึกอาชีพง่ายๆ ที่ไม่ต้องการใช้ความละเอียดละออได้ เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R. (Trainable Mentally Retarded)
   4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
สามารถเรียนนระดับประถมศึกษาได้ และสามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆได้ เรียกโดยทั่วไปว่า (E.M.R. Educable Mentally Retarded)

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางด้านสติปัญญา
  • ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น ว่อกแวก
  • ความคิดและอารมเปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้ ทำงานช้า
  • รุนแรง ไม่มีสาเหตุ
  • อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  • ช่วนเหลือตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน(Children with Hearing Impaired)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน
แบ่งออก 2 ประเภท คือ
     1. เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้โดยเครื่องใช้ฟัง จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1.1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระดับ 26-40 db เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบาๆ เช่าเสียงกระซิบ
1.2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 db

  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยในระดับปกติ ในระหว่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
  • จะไม่ได่ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
  • มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน
1.3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง 56-70 db

  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและไม่เข้าใจคำพูด
  • เมื่อพูดคุยในระดับเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
  • มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
  • มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
1.4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 70-90 db

  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
  • ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังระยะใกล้หู ระยะ 1 ฟุต
  • การพูดคุยด้วย ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
  • เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
  • เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
     2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน

  • เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วได้
  • ไม่สามารถเข้าใจหือใชภาษาพูดได้
  • ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 ขึ้นไป
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

  • ไม่ตบสนองการพูด
  • ไม่พูด แต่จะแสดงท่าทาง
  • พูดไม่ถูหลักไวยากรณ์
  • พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  • พูดด้วยเสียงต่ำเกินความจำเป็น
  • เวลาฟังมักจะมองปากคนพูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  • รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  • มักทำหน้าเด๋อ เม่อ เมื่อมีการพูดด้วย
3. เด็กบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)

  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเห็นเลือนราง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  • เด็กสามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา 
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
     1. เด็กตาบอด

  • เด็กที่ไม่สามารถเห็นได้เลย หรือมองเห็นได้บ้าง
  • ต้องใช้ประสาทสำผัสอื่นในการเรียนรู้
  • มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60, 20/200
     2. เด็กตาบอดไม่สนิท

  • เด็กมีความบกพร่องทางสายตา
  • สามรถมองเห็นได้บ้างแต่ไม่เท่าเด็กปกติ
  • เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 , 6/60 ,20/200
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่บอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการมองเห็น

  • เดินงุ่มง่าม ชนแลัสดุดวัตถุ
  • มองเห็นสีผิดปกติ
  • ก้มศีรษะติดกับงาน หรือของเล่นที่อยู่ตรงข้าม
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื้นไส้ ตาลาย คันตา
  • เปร่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สาตา
  • ตาและมือไมาสัมพันกัน
  • มีความลำบากในการจำ




วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่1

วันอังคาร ที่ 5 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2556
 
                    วันนี้เป็นวันแรกการเรียนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ของภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งอาจารย์ได้ปฐมนิเทศนักศึกษา แนะนำแนวการสอนและวิธีการสอนในรายวิชา พร้อมกับสร้างข้อตกลงในการเรียนการสอนให้สอดคล้องทั้งผู้เรียนและผู้สอน
                     จากนั้นนักศึกษากับอาจารย์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับรายวิชานี้และทดสอบควาทรู้เดิมของนักศึกษา โดยให้สร้างองค์ความรู้เป็นแผนฝังมายแมบปิ้ง

ชิ้นงานของข้าพเจ้า