วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคาร ที่ 22 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่2

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ(Children with special needs)
มีความหมาย 2 รูปแบบ

  1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ" หมายถึง เด็กที่มีความผิกปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจมีความผิดปกติ ความบกพร่องทางด้านร่างการ การสูญเสียสมรรถภาพทางร่างการและทางจิตใจ
  2. ทางการศึกษา หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพราะของตนเอง ซึงจำเป็นต้องจักการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
สรุป

  • เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามรถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
  • ไม่สาเหตุมาจากสภาพความบกพร่องทางร่างการ สติปัญญาและอารม
  • จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วเหลือ บำบัด ฟื้นฟู มากกว่าเด็กปกติ
  • จักการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละคน
ประเภทของเด็กที่มมีความต้องการพิเศษ
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่

1.) กลุ่มเด็กที่มีลักษญะทางความสามรถสูง
 มีความเป็นเลิศในต้านสติปัญญาโดทั่วไปเรียกว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
2.)กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง 
กระทรวงศึกษาธิการแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได่แก่
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปํญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเท่ากับเด็กในระดับอายุเดียวกัน (IQต่ำ)
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. เด็กเรียนช้า
  • สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  • เด็กที่ความสมารถในการเรียนล่าช้ากว่าปกติ
  • มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาเพียงเล็กนุ้อย
  • มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหต
1. ภายนอก
  • เศรษฐกิจทางครอบครัว
  • การเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับเด็ก
  • สภาพทางด้านอารมของคนในครอบครัว
  • การเข้าเรียนไมาสม่ำเสมอ
  • วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2. ภายใน
  • พัฒนาการช้า
  • การเจ็บป่วย ได้แก โรคประจำตัว
2. เด็กปัญญาอ่อน
  • เด็กที่มีพัฒนาการหยุดชะงัก
  • แสดงลักษณะเฉพาะคือ ปัญญาต่ำ
  • มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย
  • มีความจำกัดในด้านทักษะ
  • มัพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  • มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
     1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก  IQ ต่ำกว่า 20
ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆได้เลย ต้องการการดูแลจากพยาบาลเท่านั้น
    2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
ไม่สามรถเรียนได้ต้องการเฉพาาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ
    3. ปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆได้ สามารถฝึกอาชีพง่ายๆ ที่ไม่ต้องการใช้ความละเอียดละออได้ เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R. (Trainable Mentally Retarded)
   4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
สามารถเรียนนระดับประถมศึกษาได้ และสามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆได้ เรียกโดยทั่วไปว่า (E.M.R. Educable Mentally Retarded)

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางด้านสติปัญญา
  • ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น ว่อกแวก
  • ความคิดและอารมเปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้ ทำงานช้า
  • รุนแรง ไม่มีสาเหตุ
  • อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  • ช่วนเหลือตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน(Children with Hearing Impaired)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน
แบ่งออก 2 ประเภท คือ
     1. เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้โดยเครื่องใช้ฟัง จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1.1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระดับ 26-40 db เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบาๆ เช่าเสียงกระซิบ
1.2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 db

  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยในระดับปกติ ในระหว่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
  • จะไม่ได่ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
  • มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน
1.3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง 56-70 db

  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและไม่เข้าใจคำพูด
  • เมื่อพูดคุยในระดับเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
  • มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
  • มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
1.4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 70-90 db

  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
  • ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังระยะใกล้หู ระยะ 1 ฟุต
  • การพูดคุยด้วย ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
  • เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
  • เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
     2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน

  • เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วได้
  • ไม่สามารถเข้าใจหือใชภาษาพูดได้
  • ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 ขึ้นไป
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

  • ไม่ตบสนองการพูด
  • ไม่พูด แต่จะแสดงท่าทาง
  • พูดไม่ถูหลักไวยากรณ์
  • พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  • พูดด้วยเสียงต่ำเกินความจำเป็น
  • เวลาฟังมักจะมองปากคนพูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  • รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  • มักทำหน้าเด๋อ เม่อ เมื่อมีการพูดด้วย
3. เด็กบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)

  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเห็นเลือนราง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  • เด็กสามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา 
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
     1. เด็กตาบอด

  • เด็กที่ไม่สามารถเห็นได้เลย หรือมองเห็นได้บ้าง
  • ต้องใช้ประสาทสำผัสอื่นในการเรียนรู้
  • มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60, 20/200
     2. เด็กตาบอดไม่สนิท

  • เด็กมีความบกพร่องทางสายตา
  • สามรถมองเห็นได้บ้างแต่ไม่เท่าเด็กปกติ
  • เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 , 6/60 ,20/200
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่บอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการมองเห็น

  • เดินงุ่มง่าม ชนแลัสดุดวัตถุ
  • มองเห็นสีผิดปกติ
  • ก้มศีรษะติดกับงาน หรือของเล่นที่อยู่ตรงข้าม
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื้นไส้ ตาลาย คันตา
  • เปร่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่งเมื่อใช้สาตา
  • ตาและมือไมาสัมพันกัน
  • มีความลำบากในการจำ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น