วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่13


เนื้อหาที่เรียน

เรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

พัฒนาการ หมายถึง การเปลียนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

- พัฒนาการด้านร่างกาย
- พัฒนาการด้านสติปัญญา
- พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
- พัฒนาการด้านสังคม


เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก



สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. โรคพันธุกรรม

2. โรคของระบบประสาท

3. การติดเชื้อ

4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม

5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด

6. สารเคมี

7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การใช้ภาษา ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ


กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า

1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย (progressive encephalopathy)
2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร


2. การตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่

2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ

2.2 ภาวะตับม้ามโต

2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers

2.4 ระบบประสาทต่างๆ

2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)

2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย

3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ

4.การประเมินพัฒนาการ

วันอังคารที่ 14 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนสัปดาที่ 12


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสถานการณ์ของบ้านเมืองไม่ปกติ




ค้นคว้าเพิ่มเติม :
ความคิดและจิตใจของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ


เรื่อง ... อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์


ใน การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษมีสิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปมัก ท้วงติงหรือกังวลบ่อย ๆ ก็คือ ความมีจริยธรรมของเด็กกลุ่มนี้ เพราะคนทั่วไปตระหนักดีว่าหากเราช่วยผลักดันส่งเสริมเด็กกลุ่มนี้ให้โดดเด่น แต่ขาดจริยธรรม ก็จะเป็นเรื่องทำลายสังคมมากกว่าสร้างสรรค์สังคม ความเป็นห่วงเป็นใยนี้เป็นเรื่องสำคัญ และต้องยึดถือให้มีกลวิธีที่เป็นเครื่องอุ่นใจว่า เด็กที่เรามุ่งพัฒนาด้วยต้นทุนที่แพงแสนแพง จะไม่กลับมาทำร้ายและเอาเปรียบสังคมจนประเทศล่มสลายในภายหลังเพราะเด็กกลุ่ม นี้ร้ายแล้วร้ายนัก ร้ายลึกซึ้ง หากดีก็สามารถพลิกประเทศ พลิกสถานการณ์จากร้ายกลายเป็นดีได้เช่นกัน


ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้จึงต้องยึดถือไว้ในหัวใจว่า เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่ต้องการหาทางสร้างและส่งเสริมคนที่มีศักยภาพสูงให้มีหัวใจที่เป็นสาธารณะ มุ่งอุทิศตนเพื่อคนอื่น


การที่จะจัดโครงการให้กับเด็กกลุ่มนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครูและ ผู้ปกครอง จะต้องรู้จักและเข้าใจลักษณะธรรมชาติและความต้องการของเด็กกลุ่มนี้ให้ชัดเจนว่า เด็กกลุ่มนี้นอกจากธรรมชาติทางด้านความสามารถพิเศษที่มีอยู่นั้นสลับซับซ้อน พิสดารกว่าคนอื่น สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วทำได้ดีกว่าเด็กคนอื่นในสิ่งที่ตนถนัดแล้ว ลักษณะกลไกทางจิตใจก็ซับซ้อนละเอียดอ่อน ไม่แพ้กับพลังด้านความสามารถของพวกเขา


การจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้จึงไม่ควรละเลยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางจิตใจ และความเจริญเติบโตทางอารมณ์และสังคมของเด็ก หากเราเพิกเฉย มุ่งวัดและให้แรงเสริมแต่ด้านความสามารถของเขาอย่างเดียว ในอนาคตเราอาจได้หุ่นยนต์พิสดารที่เก่งสารพัดแต่ขาดหัวใจ หรืออาจได้ผู้ร้ายในคราบนักบุญ คราบนักบริหารระดับสูงที่บั่นทอนทำลายสังคมก็เป็นได้


พฤติกรรมทางด้านจิตใจของเด็กกลุ่มนี้ มีความละเอียดอ่อนยิ่ง และมีการรับรู้ที่ “ไว” เด็กกลุ่มนี้จึงมีพื้นฐานที่จะมี “ความรู้สึก” มากกว่า ลึกซึ้งกว่า ซับซ้อนกว่าเด็กทั่วไป โดยพื้นฐานแล้ว เด็กกลุ่มนี้มักสนใจในเรื่องศีลธรรมจรรยา ปรัชญาหรือประเด็นทางสังคม จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะชักจูงให้เด็กกลุ่มนี้พัฒนาตนเองเพื่อสังคม หากเขาได้พบกับต้นแบบที่ดีพอ มองเห็นตัวอย่างจากผู้ใหญ่ที่ยืนยันว่า คนเก่ง คนดี คนมีค่าของสังคมจะต้องเป็นอย่างไร


อย่าง ไรก็ตาม แรงผลักดันโดยพื้นฐานโดยธรรมชาติของเด็กพวกนี้ ไม่สามารถหล่อเลี้ยงและพัฒนาตนเองให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขได้ หากปราศจากปัจจัยสำคัญเกื้อหนุน เพราะแม้เด็กกลุ่มนี้จะมีความสามารถโดดเด่นหรือฉลาดลึกซึ้งเพียงใดก็ยังเป็น เด็กธรรมดา ที่ต้องการประสบการณ์จากผู้ใหญ่ จากการชี้แนะที่ดี และที่สำคัญเด็กเหล่านี้ยังต้องมีการเรียนรู้ภาวะจิตใต้สำนึกที่ดี นั่นคือ การได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัวความเข้าใจจากพ่อแม่ และมีพื้นฐานครอบครัวที่สมบูรณ์


เมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาเด็กกลุ่มนี้ต้องการความเข้าใจจากครู และผู้ที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากความต้องการการศึกษาที่เหมาะสมกับพวกเขา เพราะคนทั่วไปมักคิดว่า พวกเขายังเป็นพวกอภิสิทธิ์ชน ได้เปรียบคนอื่น รู้มากกว่า ไม่ต้องช่วยเหลืออะไร เขาก็ช่วยตัวเองได้ดี ในขณะที่เด็กกลุ่มนี้รู้สึกว่าตนเองด้อยโอกาสมีความกดดัน ความเจ็บปวดขมขื่น ตนเองแตกต่างไปจากคนอื่น


กลุ่มของ โคลัมบัส กล่าวว่า ความสามารถพิเศษนั้น คือความไม่ผสมกลมกลืนกันของพัฒนาการ กล่าวคือ พัฒนาการทางปัญญาและความสามารถต่าง ๆ มีอยู่อย่างเข้มข้น และมีผลกระทบทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ หรือการตระหนักรู้ที่แตกต่างจากคนทั่วไป ความไม่ผสมกลมกลืนนี้เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มที่มีศักยภาพสูงมากขึ้น เอกลักษณ์ของเด็กกลุ่มนี้บางทีแทนที่จะเป็นผลดี แต่กลับกลายทำให้พวกเขาอ่อนแอ และต้องการดูแลจากผู้ปกครอง ครู ในการให้คำแนะนำปรับปรุง เพื่อทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาเต็มตามศักยภาพได้ ซึ่งความไม่ผสมกลมกลืน (Asynchrony) หมายถึง “การขาดการผสมกลมกลืนหรือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอัตราการพัฒนาการของปัญญา อารมณ์ และร่างกาย” ความไม่ผสมกลมกลืนกันนี่เองที่ส่งผลให้เกิดความเครียดภายในได้ แต่ไม่สามารถขีดเขียนได้ตามจินตนาการหรือความต้องการของตนเองได้ ทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิด คับข้องใจ ที่สามารถพบได้เสมอ ๆ ในกลุ่มเด็กที่มีความสามารถในระดับสูงมาก (Highly Gifted)


ความไม่ผสมกลมกลืนภายในก็ก่อให้เกิดความลำบากในการปรับตัวภายนอก (External Adjustment) ไปด้วย และเด็กก็มักจะมีความรู้สึกว่าตนเอง “แตกต่าง” “ไม่มีที่เหมาะกับเขา” เพราะเด็กทุกคนต้องการหรือมีความรู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นที่ยอมรับ ความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ไม่เหมาะกับตัวเขาจึงเป็นเรื่องเจ็บปวดอยู่ไม่น้อยทีเดียว


จึงไม่แปลกที่เราจะพบว่า เด็กที่ฉลาดล้ำหรือกลุ่มพวกมีความสามารถเป็นเลิศ มีศักยภาพสูงยิ่ง กลับเป็นพวกที่อาจล้มเหลวได้ และอาจมีอาการที่พบบ่อยในเด็กกลุ่มนี้ คือ


1. ความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ (Low Self-Esteem) ซึ่งการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกว่าผู้อื่นไม่เห็นคุณค่าหรือความสำคัญของตนเอง เมื่อผู้อื่นทำผิดพลาดมักตำหนิผู้อื่น ชอบปกป้องตัวเอง และรู้สึกไม่พอใจอะไรง่าย ๆ นอกจากนั้น ยังทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดการตัดสินใจที่ดีในอนาคต
2. ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง (Loneliness) เพราะเนื่องจากคนไม่ค่อยเข้าใจความคิดความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษสูง ๆ จะรู้สึกว่า คนอื่นคิดและรู้สึกไม่เหมือนกับตน จึงทำให้เด็กมีพฤติกรรมการตอบสนองไปในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแล้วแต่พื้นฐานทางด้านจิตใจ การอบรมเลี้ยงดู รวมทั้งวิธีการคิดของเด็กด้วย
3. มีปัญหาในการปรับตัว จึงทำให้มีทักษะทางสังคมต่ำ (Low Social Skill) เด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถปรับความคิดของตนเองให้คล้อยตามกับความคิดของกลุ่มคนในสังคม เพราะระบบการคิดที่ต่างกันจึงทำให้เด็กเหล่านั้นไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้
4. ความเครียดสูง เพราะเนื่องจากความคาดหวังและสภาพแวดล้อมที่ตัวเด็กได้รับความกดดัน และระบบการศึกษา ซึ่งตัวเองต้องปฏิบัติตามในสิ่งที่ตนไม่สนใจ
5. กลัวความล้มเหลว โดยเฉพาะเด็กที่แสดงออกถึงความสามารถที่โดดเด่น ทำให้ผู้คนใกล้ชิดกับเด็กมักจะคาดหวัง และตัวเด็กเองก็มีแนวโน้มชอบทำอะไรสมบูรณ์ไม่มีที่ติ (Perfectionist) จึงทำให้เด็กพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความล้มเหลว
6. ขาดความมั่นใจในตนเอง (low Self-Confident) ทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก หรือในบางครั้งก็แสดงออกแต่ไม่เหมาะสมจึงทำให้ถูกตำหนิเมื่อจะทำอะไรใหม่ ๆ ทำให้ไม่กล้าแสดงออก
7. ทำงานไม่ค่อยเสร็จ เด็กที่มีความสามารถพิเศษมักมีความคิดดี เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้เร็ว คิดเก่ง แต่ลงมือทำมักทำไม่ค่อยสำเร็จ


จึงเห็นได้ว่า ลำพังความเข้าใจของครู หรือของพ่อแม่อาจไม่เพียงพอ นั่นหมายถึงโรงเรียนหรือหน่วยงานที่จัดการศึกษาให้เด็กกลุ่มนี้ ควรสร้างระบบหรือกลไกทางด้านการแนะแนวและจิตวิทยาควบคู่กันไป ที่มีทั้งครู พ่อแม่ นักแนะแนวและจิตวิทยาควบคู่กันไป ที่มีทั้งครู พ่อแม่ นักแนะแนว นักจิตวิทยา จิตแพทย์ มาร่วมกันอย่างมีระบบ โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างทักษะทางอารมณ์ สังคม จิตใจให้เด็ก เช่น ความมีศีลธรรมจรรยา ความศรัทธาในเรื่องต่างๆ ความเมตตา กรุณา ความรู้สึกที่ต้องการให้ตนเองเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ ความห่วงใยผู้อื่นการอุทิศตนให้สังคม การมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่มั่นคง และเข้มแข็ง มีความยุติธรรม มีความเข้าใจเรื่องสังคม มีความรับผิดชอบ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี


ในการเลี้ยงดูเด็กที่มีความสามารถพิเศษครูและผู้ปกครองควรมีแนวปฏิบัติดังนี้คือ
o มีความเข้าใจจุดเด่นและจุดด้อยของเด็ก
o ฝึกให้เด็กมีการยอมรับและเข้าใจตนเองและข้อจำกัดของตนเอง
o สร้างความมั่นใจว่าพ่อแม่หรือครูจะสนับสนุนเขา
o ฝึกการแก้ความขัดแย้งในตนเอง
o ฝึกการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
o ฝึกความสามารถด้านการติดต่อสื่อสาร
o ฝึกทักษะทางสังคม การยอมรับของคนอื่น
o ฝึกความสามารถในการมุ่งมั่น อดทน และเอาชนะอุปสรรคแทนที่จะเป็นคนก้าวร้าว
o ฝึกให้อยู่กับตนเองได้อย่างมีความสุข
o ฝึกให้เด็กสามารถลดภาวะกดดัน ภาวะเครียด
o ฝึกการสร้างอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี


กลไกทางจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคนคุมหางเสือทางปัญญาให้พัดพาไปทางดีหรือทางร้ายได้ ทั้งสิ้น หากเราอยากเห็น คนเก่ง คนดี และมีสุขในอนาคต เราคงต้องให้ความสำคัญกับการผลักดันโครงสร้างและกลไกทางจิตวิทยาและแนะแนว ให้มากกว่าที่เป็นอยู่อีกหลายสิบเท่า มิฉะนั้นในอนาคตเราอาจไม่มีแผ่นดินจะขายก็เป็นได้

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 7เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานเป็นกลุ่ม ซึ่งเนื้อหางานเกี่ยวกับความบกพร่องของเด็กพิเศษ โดยกลุ่มของดิฉันได้ออกไปนำเสนอเกี่ยวกับเด็กที่มีความพิการทางสมอง หรือ CP (Cereral palsy) และได้นำเสนอด้วยการแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับโรคนั้น ให้เพื่อนๆในห้องได้ดู และแต่ละกลุ่มก็จะมีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป

 ความรู้เพิ่มเติม


สมองพิการ (Cerebral Palsy) 
--------------------------------------------------------------------------------


ความหมาย

สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้

นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก เป็นต้น

สาเหตุ

อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี

โดยแบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ

1. ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาหรือระยะก่อนคลอด(prenatal period) นับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 6 เดือน ซึ่งได้แก่

1.1 ภาวะการติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส เริม มาเลเรีย เอดส์ เป็นต้น

1.2 ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ เช่น มารดาที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์คล้ายจะแท้ง หรือมีการลอกตัวของรกก่อนกำหนด มารดาขาดอาหารหรือซีดมาก

1.3 ภาวะขาดสารอาหารที่มีคุณค่าของมารดา เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ

1.4 มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน เด็กอาจตัวใหญ่ผิดปกติ ทำให้เกิดอันตรายจากการคลอดได้ หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงมาก อาจทำให้มีเลือดออกในสมองของเด็กได้

1.5 ยาและสารพิษบางอย่างที่มารดาได้รับมากเกินปกติ (ตะกั่ว ปรอท บุหรี่ สุรา)

1.6 ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด เช่น ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ สมองไม่เจริญ สมองลีบ สมองเล็ก

1.7 ความผิดปกติของโครโมโซม

1.8 รก และสายสะดือไม่สมบูรณ์

2. ระยะระหว่างคลอด(perinatal period)

นับตั้งแต่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์แรกหลังคลอด ได้แก่

2.1 เด็กคลอดก่อนกําหนด และเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย คือ ต่ำกว่า 2,500 กรัม จะมีความเสี่ยงสูงที่จะสมองพิการ

2.2 ภาวะการขาดออกซิเจนในเด็กระหว่างคลอด จากการคลอดลำบาก คลอดผิดปกติ เช่น คลอดท่าก้น หรือสายสะดือพันคอ เด็กสำลักน้ำคร่ำ หรือ การคลอดที่ต้องใช้เครื่องช่วย เช่น คีมคีบ หรือ เครื่องดูดศีรษะ

2.3 ภาวะกลุ่มเลือดมารดาและทารกไม่เข้ากัน ทำให้เด็กคลอดออกมาตัวเหลือง

2.4 การคลอดโดยใช้ยาระงับปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน หรือการฉีดยาเข้าไขสันหลัง เพื่อระงับปวดระหว่างคลอด อาจเสี่ยงกับการขาดออกซิเจนในเด็กได้



3.ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่

3.1 ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด การวางยาสลบ การจมน้ำ หรือมีอาการชัก

3.2 การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ โรคหัด เป็นต้น

3.3 อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง



อาการและอาการแสดง

ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ



โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มแข็งเกร็ง(สปาสติก : spastic)

เป็นชนิดที่พบมากที่สุด โดยกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวมากผิดปกติ ทำให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกายปรากฏให้เห็นได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้

1.1 แบบครึ่งซีก จะมีอาการเกร็ง ของแขนและขาข้างเดียวกัน(spastic hemiplegia) โดยมักพบว่าแขนมีอาการมากกว่าขา และเห็นลักษณะผิดปกติของแขนชัดเจน คือ มีการเกร็งงอของข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือกำ ส่วนขาพบมีเท้าเกร็งจิกลง ลักษณะที่พบจะคล้ายในผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก

1.2 แบบครึ่งท่อน จะมีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง(spastic diplegia) พบว่ามีอาการเกร็งในส่วนของขามากกว่าแขนมากอย่างเห็นได้ชัด

1.3 แบบทั้งตัว จะมีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง พบว่ามีอาการเกร็งของส่วนของแขนและขาใกล้เคียงกัน หรือบางครั้งอาจพบว่ามีส่วนของแขนมากกว่าขา (spastic quadriplegia)



2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)

แบ่งได้ดังนี้

2.1. อะธีตอยด์(athetoid) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่แน่นอน ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวมากที่มือและเท้า บางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย

2.2 อะแทกเซีย(ataxia) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยจนถึงปกติ ทำให้มีปัญหาการทรงตัว มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และอาจเกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกายร่วมด้วยได้



3.กลุ่มอาการผสมกัน(mixed type)

พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง



ปัญหาและความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ

1. ภาวะปัญญาอ่อน เด็กสมองพิการจะมีระดับสติปัญญาอยู่ในทุกระดับ พบว่ามีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ คือมีปัญญาอ่อนระดับน้อย ร้อยละ 20 และปัญญาอ่อนระดับปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 30-40

การทดสอบระดับสติปัญญา(psychological test) โดยทั่วไปอาจไม่ได้บอกถึงระดับสติปัญญาที่แท้จริง เนื่องจากเด็กสมองพิการมักจะมีปัญหาร่วมอย่างอื่น เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย เด็กขาดการกระตุ้น ขาดแรงจูงใจและขาดประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กมักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ



2. ด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด เด็กสมองพิการมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การสำรวจและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าใจความผิดปกติของตำแหน่ง ทิศทาง ความหยาบ ความละเอียด รูปทรง ความรู้สึกร้อนหนาว และไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างและส่วนต่างๆของร่างกาย (body image)ว่าอยู่ในตำแหน่งใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร



3. ด้านอารมณ์และสังคม จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก เด็กสมองพิการมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากทำการเคลื่อนไหวไม่ได้ดังตั้งใจ บางครั้งทำได้ บางครั้งทำไม่ได้ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้เลยทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้



4. โรคลมชัก พบว่าประมาณ ร้อยละ 20-50 ของเด็กสมองพิการมีอาการชักร่วมด้วย การพยากรณ์ของโรคพบว่าค่อนข้างรุนแรง แต่ต้องแยกจากอาการชักที่เกิดในสัปดาห์แรกหลังคลอดแล้วไม่เกิดอีก หรือการชักจากไข้สูงในเด็กเล็กๆ ซึ่งพวกนี้การพยากรณ์ของโรคจะดีกว่า บิดาและมารดาควรพาเด็กมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะเด็กที่มีโรคลมชักต้องการการดูแลเป็นพิเศษและควริปรับยาเป็นระยะๆ เพื่อให้เหมาะสมกับอาการของเด็กในระยะนั้นๆ



5. ด้านการมองเห็น เด็กสมองพิการมักจะมีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น โดยพบว่ามีตาเหล่ได้บ่อยถึงร้อยละ 20-60 โดยเป็นตาเหล่เข้าในมากกว่า ถ้าทิ้งไว้นานตาจะรับภาพเพียงข้างเดียว ทำให้การรับความตื้นลึกของภาพผิดปกติด้วย ความผิดปกติอื่นๆ ทางตาที่อาจพบได้ในเด็กสมองพิการ คือไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนพร้อมกันได้ หรือ มีตาดำกระตุก(nystagmus) ร่วมด้วย ส่วนเรื่องสายตาสั้นยาวนั้น พบได้มากถึงร้อยละ 25-75 เด็กจึงควรได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์ในครั้งแรก และรับการตรวจในวัยเข้าเรียนอีกครั้ง



6. ด้านการได้ยิน เด็กสมองพิการอาจจะมีความผิดปกติของการได้ยินเนื่องมาจากความบกพร่องของหูส่วนกลาง โดยเฉพาะการแยกเสียงความถี่สูง เมื่อมีปัญหาในหูชั้นกลางทำให้เด็กได้ยินเสียงน้อยลง เช่น การพูดอย่างนิ่มนวล เมื่อพ่อแม่หรือผู้เกี่ยวข้องพูดด้วยเสียงระดับนี้ เด็กอาจะไม่ได้ยินต้องพูดซ้ำๆ เด็กจะได้ยินเมื่อมาพูดใกล้ๆ ถ้าตะโกนอาจทำให้เด็กตกใจกลัว ร้องไห้ ทำให้มีผลต่ออารมณ์ของเด็กได้



7. การสื่อความหมาย เด็กสมองพิการจะมีความบกพร่องทางด้านภาษาพูด โดยสาเหตุที่เด็กไม่สามารถควบคุมศีรษะได้ ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ว่าอะไรทำให้เกิดเสียงนั้นๆ และไม่สามารถเลียนแบบเสียง หรือติดต่อสื่อสารได้ ตัวอย่างของความผิดปกติของการพูด ได้แก่ ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าปกติ หรือมีความยากลำบากในการพูด ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้พูด หรือความผิดปกติในเนื้อสมองที่ควบคุมเกี่ยวกับการสื่อสารและภาษา รวมทั้งระดับสติปัญญาด้วย



8. ด้านกระดูก เด็กสมองพิการมักจะพบการหลุดออกจากที่(dislocation) หรือการเคลื่อนออกจากที่บางส่วน(subluxation) ของข้อต่อต่างๆของร่างกาย เช่น ข้อสะโพก, ข้อไหล่ เป็นต้น อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด (scoliosis), การหดรั้ง และเท้าแปแต่กำเนิด(equinus) เป็นต้น



9. ด้านฟันและร่องปาก เด็กสมองพิการมักพบปัญหาฟันผุได้บ่อย เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากทำได้ยากลำบาก เด็กไม่สามารถอ้าปากหรือบ้วนน้ำเองได้ ซึ่งถ้าขาดการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากที่ดีหรือทำได้ไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมาได้ บิดาและมารดาควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เป็นระยะๆ


การดูแล/รักษา

เนื่องจากเด็กสมองพิการมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดประกอบไปด้วยปัญหาด้านต่างๆ รวมกันหลายอย่าง เช่น ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ปัญหาด้านการใช้มือ ปัญหาด้านการดูดกลืน ปัญหาด้านการสื่อสาร ปัญหาด้านสติปัญญา สังคมและอารมณ์ รวมถึงสภาพสิ่งแวดล้อมและครอบครัว

การให้การดูแลรักษาเด็กสมองพิการนั้นควรได้รับการดูแลรักษาทั้งหมดในทุกๆ ด้าน โดยอาศัยความร่วมมือของเด็ก ครอบครัว และทีมงานผู้ให้การรักษา

การได้รับความรักและการดูแลรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการมารับการรักษาเมื่อมีอายุมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคด้วย



การรักษา แบ่งตามปัญหาที่พบ ดังนี้

การรักษาทางกายภาพบำบัด

การรักษาทางกายภาพบำบัดเริ่มให้การรักษาตั้งแต่แรกเกิด การรักษาไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับลักษณะของความผิดปกติและความรุนแรงของพยาธิสภาพ โดยโปรแกรมการรักษา จะกำหนดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเฉพาะตัว ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะเริ่มจากการตรวจประเมินพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและการทรงท่า เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีหลักการรักษาทางกายภาพบำบัด ดังนี้

1.ปรับและควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด และป้องกันการผิดรูปของข้อต่อต่างๆ เมื่อพบว่าเด็กมีอาการเกร็งที่แขนและขา มากกว่าเด็กปกติ สามารถให้การรักษาโดย

1.1. การจัดท่าให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายอยู่ในแนวที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การจัดท่านอนหงาย โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะและใต้สะบักให้อยู่ในท่างอเล็กน้อย และรองใต้เข่าให้มีการงอเล็กน้อย ให้มีการงอสะโพกและข้อเข่าเพื่อช่วยลดอาการเกร็งของขา

1.2. การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อและความยาวของกล้ามเนื้อ ทำได้โดย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดการหดสั้นและนำมาซึ่งความผิดรูปของข้อต่อ เช่น การยืดแขน โดยใช้มือกางเหยียดนิ้วหัวแม่มือพร้อมทั้งนิ้วทั้งสี่ออก กระดกข้อมือหงายมือพร้อมเหยียดศอกจนเต็มช่วงการเคลื่อนไหว และการยืดขา โดยจับข้อเข่าให้งอเล็กน้อย อีกมือจับข้อเท้าให้กระดกขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค่อยๆ ดันให้ข้อเข่าและข้อสะโพกงอ

2. กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงท่าอยู่ได้

โดยการฝึกรูปการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ถูกต้องตามพัฒนาการที่ปกติหรือใกล้เคียงปกติ เช่นการฝึกชันคอ พลิกตะแคงตัว การลุกขึ้นนั่ง การนั่งทรงตัว การคืบ การคลาน ยืน และเดิน การฝึกการทรงตัว เช่นการฝึกทรงตัวบนบอลเพื่อส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมการทรงท่า หรือการเดินบนทางแคบ เดินบนพื้นผิวที่มีลักษณะต่างกัน



3.การใช้เครื่องช่วยและอุปกรณ์พิเศษทางกายภาพบำบัด

เพื่อใช้ในการจัดท่าทาง เพื่อส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทรงท่า และจำกัดท่าทางหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น หมอนรูปลิ่ม อุปกรณ์ฝึกยืน หรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนที่ เช่น อุปกรณ์ฝึกเดิน



การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

ได้แก่ การตรวจประเมินพัฒนาการด้านใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา การฝึกการดูดกลืน การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือเพื่อป้องกันข้อติดแข็งและการผิดรูปของข้อต่อ กระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัส การจัดระเบียบการรับรู้และตอบสนอง เป็นต้น



การรักษาการแก้ไขการพูด

ได้แก่ การตรวจประเมินความสามารถทางด้านภาษาและการพูด ฝึกแก้ไขการพูด



การรักษาด้วยยา

-ยากิน สามารถลดความเกร็งของกล้ามเนื้อได้ในระดับหนึ่งแต่ผลข้างเคียงคือ อาการง่วงนอน ยามีผลลดความเกร็งของกล้ามเนื้อทุกมัด ดังนั้นจึงไม่สามารถแก้ความผิดรูปของข้อได้

-ยาฉีดเฉพาะที่ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ผลิตจากสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ทำให้การนำประสาทส่วนปลายถูกขัดขวางเมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งได้ และลดความผิดรูปของข้อได้ แต่ยาออกฤทธิ์เพียงชั่วคราว ภายใน 3-4 เดือน จะหมดฤทธิ์ กล้ามเนื้อจะกลับมาเกร็งอีก เด็กสมองพิการ มีกล้ามเนื้อที่เกร็งผิดรูปหลายมัด ถ้าจะแก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั้งหมด ต้องใช้ปริมาณยามากและยาฉีดในกลุ่มนี้มีราคาแพงมาก สำหรับคนไข้ที่ข้อแข็งมาก การฉีดยาจะไม่ช่วยอะไร



การรักษาด้วยการผ่าตัด

-การผ่าตัดลดความตึงของกล้ามเนื้อโดยผ่าคลายเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดตึง, การย้ายเอ็น เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ

-การผ่าตัดกระดูก ในรายที่กระดูกถูกดึงจนผิดรูปแล้ว ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่ามีความเหมาะสมในการผ่าตัดหรือไม่



การรักษาด้านอื่นๆ

เช่น การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ น้ำลายยืด การใช้เครื่องช่วยฟัง การใช้ยาควบคุมการชัก รวมถึงปัญหาด้านจิตเวช



การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมร่วมกับการรักษา

เด็กสมองพิการชนิดเกร็งมักจะมีอุปกรณ์พิเศษเข้ามาช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า (ankle foot orthoses-AFO) เพื่อป้องกันการยึดติดของเอ็นร้อยหวายในเด็กที่มีข้อเท้าจิกเกร็งลง และมีการเกร็งแอ่นของเข่าที่เป็นผลจากการจิกเกร็งลงของข้อเท้า การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) รองเท้าตัด เป็นต้น



การศึกษาในเด็กสมองพิการ ส่วนใหญ่เด็กสมองพิการมีระดับสติปัญญาปกติแต่มีปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนไหวทำให้มีความยากลำบากในการเข้ารับการศึกษา



การให้คำแนะนำในการดูแลรักษาเด็ก ซี.พี แก่พ่อแม่เด็ก เพื่อทราบถึงปัญหาของเด็กอย่างชัดเจน ตลอดจนการดูแลเด็กในขณะอยู่บ้าน

วันอังคาร ที่ 31 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10

*** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดเทศกาลปีไหม่






วัน อังคาร ที่ 24 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9




หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด



ข้อมูลข่าวสารที่นำมาฝากค่ะ^^

โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขากรุงเทพฯ 








เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้รับพระกรุณาจาก
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศึกษาสำหรับเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน แห่งที่ 2 ของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

จากพลังของผู้มีจิตศรัทธา ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนได้เป็นศูนย์รวมแห่งความเมตตาอาทรของบุคคลและคณะบุคคลต่างๆ ที่ได้ร่วมใจเสียสละเพื่อประโยชน์ของเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน

ที่มาของบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน รามอินทราแห่งนี้ เกิดมาจากพลัง
ของสังคมที่มีต่อผู้พิการทางสายตา ในปี พ.ศ. 2528 มีเยาวชนตาบอดจำนวน 40 คน จากโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น ได้อาสาเดินทางไกลการกุศล "ยังไม่สิ้นซึ่งความหวัง" ขอนแก่น – กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เป็นเวลากว่า 10 วัน ผลจากความวิริยะอุตสาหะของเยาวชนตาบอดในครั้งนั้นทำให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งชาวไทย
และต่างประเทศได้สละทุนทรัพย์ประมาณ 3 ล้านบาท



ในปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิฯได้นำมาจัดตั้งบ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน ยังผลให้มีแหล่งบริการเลี้ยงดูและฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเด็กตาบอดเหล่านี้ ด้วยความช่วยเหลือจากพี่น้องชาวไทย<br>ทุกสาขาอาชีพ คณะกรรมการมูลนิธิฯจึงได้มีความเห็นว่า ควรจะมีสถานศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับเด็กกลุ่มนี้จึงได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทราขึ้น แม้ว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในยุคที่ประเทศไทยมีระเบียบกฎหมายที่เกื้อกูลต่อคนพิการ การมีโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปัน การสร้างสรรค์ การพัฒนาผู้ด้วยโอกาสที่ขาดทางเลือกให้มีที่นั่งและที่ยืนในสังคม สถานศึกษาแห่งนี้ดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนประจำ รับนักเรียนตั้งแต่ เตรียมอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่6 อายุระหว่าง 2 ขวบถึง 16 ปี จากนั้นพวกเขาจะถูกส่งไปศึกษาต่อที่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 หากมีความสามารถในการศึกษาในระดับสูงขึ้นไปจะมีโอกาสไปเรียนต่อในสถานศึกษาอื่น ๆ ของมูลนิธิฯ หรือเข้าฝึกอบรมด้านวิชาชีพ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จังหวัดนครนายก




วันอังคาร ที่ 17 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 8




ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการสอบกลางภาค ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556




การวัดและประเมินผล


1. การวัดประเมินผลระดับปฐมวัยโรงเรียนมีการวัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น เป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่องจากการทำกิจกรรม และกิจวัตรประจำวัน ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เอื้อต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาเต็มศักยภาพอย่างเหมาะสม


วิธีการประเมินผล การประเมินจะประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียน โดยการสังเกต สนทนา สัมภาษณ์ เก็บรวบรวมผลงานหรือชิ้นงานในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน ที่ผู้เรียนแสดงออก เพื่อเป็นการเปรียบเทียบพัฒนาการของผู้เรียนในระดับต่อไป โดยมีวิธีการประเมินผลดังนี้

การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก โดยครูเป็นผู้สังเกตขณะเด็กทำกิจกรรม

การบันทึกพฤติกรรมของเด็กโดยการสัมภาษณ์

สารสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนโดยผ่านสมุดรายงานพฤติกรรม

สอบถามพฤติกรรมเด็กจากผู้ปกครองในวันนัดประเมินพัฒนาการ

การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็ก

การสนทนาโต้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม

การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

การใช้แบบทบทวนเนื้อหาตามหน่วยการเรียนการสอน

การรวบรวมผลงานในรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงาน


2. การวัดประเมินผลระดับประถมศึกษา โรงเรียนมีการวัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา ทั้งรายบุคคล รายกลุ่มอย่างต่อเนื่องจากการทำชิ้นงาน กิจกรรม และทดสอบ ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ตามธรรมชาติวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยทางโรงเรียนจะรายงานผลการเรียน ระหว่างภาคเรียนให้ผู้ปกครองทราบ 1 ครั้งก่อนที่จะมีการสอบปลายภาค เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ปกครอง ได้มีโอกาสที่จะรู้แนวทางในการพัฒนาความรู้ และพัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มศักยภาพอย่างเหมาะสม


การวัดและประเมินผลปลายภาคเรียน จะนำมาพิจารณาเป็น เกณฑ์การจบช่วงชั้นตามข้อกำหนด ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) เพื่อประกอบการประเมินคุณภาพผู้เรียน ดังนี้ …


1. ผู้เรียนต้องได้เรียนครบตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม และได้รับการตัดสินผลการเรียนตาม เกณฑ์ที่กำหนด โดยได้รับรายงานผลการเรียนเป็นระดับ ดังนี้

รายงานผลการเรียนกำหนด เป็น 5 ระดับ
ระดับผลการเรียน 4 หมายถึง ผลการเรียนดีมาก (80 - 100)
ระดับผลการเรียน 3 หมายถึง ผลการเรียนดี (70 - 79)
ระดับผลการเรียน 2 หมายถึง ผลการเรียนน่าพอใจ (60 - 69)
ระดับผลการเรียน 1 หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด (50 - 59)
ระดับผลการเรียน 0 หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำต้องแก้ไข (0 – 49)

กรณีที่ผู้เรียนได้ระดับผลการเรียน “ 0 ” หรือ “ ผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ” จะต้องสอบซ่อม โดยนักเรียนต้องมารับแบบคำร้องขอแก้การประเมินผลการเรียนรู้ปลายภาคที่ฝ่ายวิชาการ ทางฝ่ายวิชาการจะกำหนดวัน เวลา ในการสอบซ่อม แล้วนำมาส่งครูผู้สอนเพื่อรับการสอบซ่อมและประเมินใหม่ จนกว่าจะผ่าน จึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมินใหม่เป็น “ 1 ” หรือ “ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ”

และผู้เรียนจะต้องได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม โดยมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

เกณฑ์การประเมินกำหนดเป็น 3 ระดับ
3 หมายถึง ดีเยี่ยม
2 หมายถึง ดี
1 หมายถึง ควรปรับปรุง

ถ้านักเรียนได้รับการประเมินระดับคุณภาพ " 1 " หรือ “ ควรปรับปรุง ” หมายถึง ไม่ผ่านการประเมินในผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามกลุ่มสาระนั้น จะต้องเข้ารับการซ่อมเสริมและประเมินใหม่ โดยนักเรียนจะต้องมารับแบบคำร้องขอแก้การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่ฝ่ายวิชาการ และนำมาส่งที่ครูผู้สอนเพื่อรับการซ่อมเสริมและประเมินใหม่จนกว่าจะผ่าน จึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมินใหม่ เป็นระดับคุณภาพ “ 2” หรือ “ ดี”

2. นักเรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความหมาย โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

เกณฑ์การประเมินกำหนดเป็น 3 ระดับ
3 หมายถึง ดีเยี่ยม
2 หมายถึง ดี
1 หมายถึง ควรปรับปรุง

ถ้าได้ระดับคุณภาพ “ 1 ” หรือ “ ควรปรับปรุง ” หมายถึง ไม่ผ่านการประเมิน จะต้องเข้ารับการซ่อมเสริมและประเมินใหม่ โดยนักเรียนจะต้องมารับแบบคำร้องขอแก้การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความหมายที่ฝ่ายวิชาการ และนำมาส่งที่ครูประจำชั้นเพื่อรับการซ่อมเสริมและประเมินใหม่จนกว่าจะผ่าน จึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมินใหม่ เป็นระดับคุณภาพ " 2 " หรือ " ดี "

3. นักเรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

เกณฑ์การประเมินกำหนดเป็น 3 ระดับ
3 หมายถึง ดีเยี่ยม
2 หมายถึง ดี
1 หมายถึง ควรปรับปรุง

ถ้าได้ระดับคุณภาพ " 1 " หรือ “ ควรปรับปรุง ” หมายถึง ไม่ผ่านการประเมิน นักเรียนต้องเข้ารับการอบรมและปฏิบัติคุณความดี ตามที่โรงเรียนกำหนดจนครบถ้วน โดยนักเรียนต้องขอรับแบบคำร้องขอแก้การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ฝ่ายวิชาการ เมื่อได้รับการอบรมแล้วจึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมิน เป็นระดับคุณภาพ " 2 " หรือ " ดี "


4. นักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจะได้รับการประเมินผลเพื่อผ่านเกณฑ์ ๒ เกณฑ์ คือ
เกณฑ์การผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลากิจกรรมทั้งหมด
การตัดสินผลการประเมินกิจกรรมเป็น
“ ผ่าน ” เมื่อมีผลการประเมินผ่านทั้ง 2 เกณฑ์
“ ไม่ผ่าน ” เมื่อมีผลการประเมินผ่าน ไม่ครบทั้ง 2 เกณฑ์
ถ้าได้รับการประเมิน " ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม ตามเกณฑ์ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยนักเรียนต้องขอรับแบบคำร้องขอรับ การอบรมที่ฝ่ายวิชาการ เมื่อได้รับการซ่อมเสริมแล้วจึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมิน เป็น “ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ”





วันอังคาร ที่10 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 7

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก แข่งกีฬาเทา-เหลือง ซึ่งเป็นกีฬาของมหาวิทยาลัยประจำปี
2556


สาระดีๆที่นำมาฝากค่ะ


กิจกรรมพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กออทิสติก
( Movement For Learning )

  
                                                                                      เรียบเรียงโดย กมลรัตน์   ประชุมพลอย

                 การออกกำลังกายช่วยส่งเสริมให้เด็กออทิสติกมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์
     สังคมและสติปัญญาเช่นเดียวกับกิจกรรมการศึกษาแขนงอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กิจกรรม
    พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวเป็นกิจกรรมหลักในการส่งเสริมสุขภาพ

                  กิจกรรมพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ช่วยนำไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้
                       1. ส่งเสริมพัฒนาด้านร่างกายและความแข็งแรงของอวัยวะต่าง ๆ 
  
                                 ตามหลักสรีระวิทยาร่างกายคน   ตั้งแต่แรกเกิดมาจนกระทั่งตายล้วนต้องการ
    ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้รับการกระตุ้น
    เป็นผลให้ร่างกายแข็งแรงทนทาน     และเมื่อกิจกรรมเสร็จสิ้นร่างกายก็สามารถกลับคืนสู่สภาพ
    ปกติเร็วขึ้น       นอกจากนี้ การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ ได้เติบโตเต็มที่และ
    ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพของร่างกาย
                        2. ส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ
                                 ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ คือ  การที่ร่างกายสามารถจะเคลื่อน
   ไหวได้จังหวะ กลมกลืน สง่างาม  รวมถึงการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการทำงาน  การเล่นกีฬา  การเดิน
    การกระโดด การขว้างปา และอื่น ๆ อีกด้วย       ซึ่งการเคลื่อนไหวในกิจกรรมเหล่านี้จะดีหรือไม่ดี
    ขึ้นอยู่กับการทำงานสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ
                        3. ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม
                        กิจกรรมทางการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย  สามารถส่งเสริมพัฒนาการสังคม
    หากจัดกิจกรรมอย่างบูรณาการ       ซึ่งจะพัฒนาส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถปรับตัวเอง
    ให้เข้ากับ สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม และมีความเข้าใจในสังคมที่ตัวเองมีชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดี
    เช่น  จะส่งเสริมให้เป็นผู้ที่มีความกล้า  ความเชื่อมั่นในตนเอง  ความคิดริเริ่ม  ความอดทน การรู้จัก
    ยับยั้งชั่งใจ การมีศีลธรรมจรรยาสำหรับคุณลักษณะที่เกี่ยวกับหมู่พวก    ได้แก่   การเห็นอกเห็นใจ
    ซึ่งกันและกัน การให้ความร่วมมือ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา   การเคารพสิทธิ
    ของผู้อื่น   การรู้จักเคารพต่อกติกาการเล่น   การเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    การเป็นผู้นำ         และผู้ตามที่ดี คุณลักษณะเหล่านี้สามารถที่จะถ่ายทอดไปใช้ในสถานการณ์ของ
    การมีชีวิตอยู่ในสังคมต่อไป
                        4. ส่งเสริมพัฒนาทางด้านอารมณ์และจิตใจ
                        การออกกำลังกายช่วยลดความตึงเครียด ช่วยให้สดชื่นและมีชีวิตยืนยาว   จิตใจแจ่มใส
    ร่าเริง ไม่มีความวิตกกังวล
                        5. ส่งเสริมการเรียนรู้
                        ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กในวัยเริ่มต้นเป็นการเรียนทางด้านกลไก  และ
    การเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การวิ่ง การกระโดด ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนขั้นสูงต่อไปอีก
    นอกจากนั้น         ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกาย   และทักษะกลไกต่อผลสัมฤทธิ์ทาง
    การเรียนเด็กที่มีทักษะทางด้านกลไกสูงมีความสัมฤทธิ์ในการอ่าน การเขียน และความเข้าใจสูง
    กว่าเด็กที่มีทักษะทางด้านกลไกต่ำ

                                           ขอบข่ายของกิจกรรมการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว
                          1. ทักษะขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การวิ่ง การขว้าง การกระโดด ฯลฯ
                          2. การเคลื่อนไหวแบบแยกส่วนต่างของร่างกาย
                          3. กิจกรรมเข้าจังหวะ
                          4. เกมและกีฬาต่าง ๆ
                          5. กิจกรรมสร้างสมรรถภาพ กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพตนเอง
                          6. กิจกรรมแก้ไขความบกพร่องของร่างกาย
                          7. กิจกรรมนันทนาการ
                          8. กิจกรรมกลางแจ้ง และการอยู่ค่ายพักแรม
                         จากขอบข่ายการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวจะเห็นได้ว่ามีกิจกรรม
    มากมาย   หลายประเภทต่างก็มีความสำคัญและคุณค่าแก่เด็กแตกต่างกันออกไป    การส่งเสริม
    การออกกำลังกายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กว้างขวาง       และเปิดโอกาส
    ให้เด็กได้เข้าร่วมตามความต้องการและความสนใจ    เพื่อให้เกิดพัฒนาการพร้อมกันไปทุกด้าน
                
 
                                          การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายของเด็กออทิสติก
                         1. การฝึกการเดิน       การเดินเป็นการออกกำลังกายขั้นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับเด็ก
    ออทิสติกที่เริ่มฝึกทักษะการเคลื่อนไหว จุดมุ่งหมายของการฝึกเดิน คือ  เพื่อให้หัวใจและระบบ
   ไหลเวียนสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและฝึกการฟัง
                         2. การวิ่งเหยาะและการวิ่ง    เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกการเดิน      การวิ่งเป็น
    การออกกำลังกายที่เพิ่มความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต ทั้งนี้เพื่อควบคุม
    การเคลื่อนไหวอย่างมีทิศทาง
                         3. การออกกำลังกายโดยขี่จักรยานอยู่กับที่   การฝึกการขี่จักรยานอยู่กับที่ช่วยพัฒนา
    กลไกกล้ามเนื้อมัดใหญ่และระบบการเคลื่อนไหว โดยใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นเกณฑ์
                         4. การว่ายน้ำ    เป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด เนื่องจากน้ำมีความต้านทานจึงสามารถ
    ลดแรงกระแทกของร่างกายในขณะออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี   และร่างกายสามารถเคลื่อนไหว
    ได้ทุกส่วน     นอกจากนี้การออกกำลังกายในน้ำยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือมีความ
     พิการผิดปกติทางกล้ามเนื้อ โดยทางการฟื้นฟูสมรรถภาพ เรียกกิจกรรมนี้ว่า “ ธาราบำบัด ”

                                                           ผลจากการฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
                          1. การเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ
                                   1.1 ขนาดของหัวใจโตขึ้น
                                   1.2 อัตราการเต้นของหัวใจดีขึ้น
                                   1.3 ปริมาณเลือดที่สูบฉีดหัวใจต่อครั้งได้เพิ่มขึ้น
                                   1.4 มัดกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่โตขึ้น
                          2. การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ
                                   2.1 การระบายอากาศของปอดเพิ่มขึ้น
                                   2.2 ประสิทธิภาพของการระบายอากาศเพิ่มสูงขึ้น
                                   2.3 อัตราการเหนื่อยต่อการทำกิจกรรมลดลง
                          3. การเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ
                                   3.1 ไขมันในร่างกายลดลง
                                   3.2 ร่างกายมีความเคยชินต่อความร้อนเพิ่มขึ้น
                                   3.3 กระดูก เอ็น และพังผืด มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น



                                                                                          เอกสารอ้างอิง

                                                     คู่มือการช่วยเหลือเด็กออทิสติก ( วัยแรกพบ ) สำหรับผู้ปกครอง.
   

วันอังคาร ที่10 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้สัปดาห์สที่ 6

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากวันอังคารที่่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


  

          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี
ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

           
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  

           
 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  

           
 อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  

           
 รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร 

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 

           
 พระมหากษัตริย์ 
           
           
 สภาผู้แทนราษฎร 
           
           
 คณะกรรมการราษฎร 
           
           
 ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ

รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
           1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)

          
 2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
 
          
 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  
          
 4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
  
          
 5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

          
 6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

          
 7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

          
 8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

          
 9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
 
          
 10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

          
 11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
  
          
 12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
 
          
 13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
 
          
 14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
 
          
 15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  
          
 16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
 
          
 17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
  
          
 18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)

           รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
           โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ            อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น           ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

           
 คำปรารภ
  
           
 หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
  
           
 หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
  
           
 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
  
           
 หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
  
           
 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
  
           
 หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
  
           
 หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
  
           
 หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
  
           
หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
  
           
 หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
  
           
 หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
 
           
 หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
  
           
 หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
  
           
 หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)

           
 หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
  
           
 บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309) วันรัฐธรรมนูญ


          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้ 

          รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


 กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
           มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน            มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ