วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 17 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 8




ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการสอบกลางภาค ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556




การวัดและประเมินผล


1. การวัดประเมินผลระดับปฐมวัยโรงเรียนมีการวัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น เป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่องจากการทำกิจกรรม และกิจวัตรประจำวัน ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เอื้อต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาเต็มศักยภาพอย่างเหมาะสม


วิธีการประเมินผล การประเมินจะประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียน โดยการสังเกต สนทนา สัมภาษณ์ เก็บรวบรวมผลงานหรือชิ้นงานในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน ที่ผู้เรียนแสดงออก เพื่อเป็นการเปรียบเทียบพัฒนาการของผู้เรียนในระดับต่อไป โดยมีวิธีการประเมินผลดังนี้

การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก โดยครูเป็นผู้สังเกตขณะเด็กทำกิจกรรม

การบันทึกพฤติกรรมของเด็กโดยการสัมภาษณ์

สารสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนโดยผ่านสมุดรายงานพฤติกรรม

สอบถามพฤติกรรมเด็กจากผู้ปกครองในวันนัดประเมินพัฒนาการ

การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็ก

การสนทนาโต้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม

การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

การใช้แบบทบทวนเนื้อหาตามหน่วยการเรียนการสอน

การรวบรวมผลงานในรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงาน


2. การวัดประเมินผลระดับประถมศึกษา โรงเรียนมีการวัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา ทั้งรายบุคคล รายกลุ่มอย่างต่อเนื่องจากการทำชิ้นงาน กิจกรรม และทดสอบ ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ตามธรรมชาติวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยทางโรงเรียนจะรายงานผลการเรียน ระหว่างภาคเรียนให้ผู้ปกครองทราบ 1 ครั้งก่อนที่จะมีการสอบปลายภาค เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ปกครอง ได้มีโอกาสที่จะรู้แนวทางในการพัฒนาความรู้ และพัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มศักยภาพอย่างเหมาะสม


การวัดและประเมินผลปลายภาคเรียน จะนำมาพิจารณาเป็น เกณฑ์การจบช่วงชั้นตามข้อกำหนด ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) เพื่อประกอบการประเมินคุณภาพผู้เรียน ดังนี้ …


1. ผู้เรียนต้องได้เรียนครบตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม และได้รับการตัดสินผลการเรียนตาม เกณฑ์ที่กำหนด โดยได้รับรายงานผลการเรียนเป็นระดับ ดังนี้

รายงานผลการเรียนกำหนด เป็น 5 ระดับ
ระดับผลการเรียน 4 หมายถึง ผลการเรียนดีมาก (80 - 100)
ระดับผลการเรียน 3 หมายถึง ผลการเรียนดี (70 - 79)
ระดับผลการเรียน 2 หมายถึง ผลการเรียนน่าพอใจ (60 - 69)
ระดับผลการเรียน 1 หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด (50 - 59)
ระดับผลการเรียน 0 หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำต้องแก้ไข (0 – 49)

กรณีที่ผู้เรียนได้ระดับผลการเรียน “ 0 ” หรือ “ ผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ” จะต้องสอบซ่อม โดยนักเรียนต้องมารับแบบคำร้องขอแก้การประเมินผลการเรียนรู้ปลายภาคที่ฝ่ายวิชาการ ทางฝ่ายวิชาการจะกำหนดวัน เวลา ในการสอบซ่อม แล้วนำมาส่งครูผู้สอนเพื่อรับการสอบซ่อมและประเมินใหม่ จนกว่าจะผ่าน จึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมินใหม่เป็น “ 1 ” หรือ “ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ”

และผู้เรียนจะต้องได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม โดยมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

เกณฑ์การประเมินกำหนดเป็น 3 ระดับ
3 หมายถึง ดีเยี่ยม
2 หมายถึง ดี
1 หมายถึง ควรปรับปรุง

ถ้านักเรียนได้รับการประเมินระดับคุณภาพ " 1 " หรือ “ ควรปรับปรุง ” หมายถึง ไม่ผ่านการประเมินในผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามกลุ่มสาระนั้น จะต้องเข้ารับการซ่อมเสริมและประเมินใหม่ โดยนักเรียนจะต้องมารับแบบคำร้องขอแก้การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่ฝ่ายวิชาการ และนำมาส่งที่ครูผู้สอนเพื่อรับการซ่อมเสริมและประเมินใหม่จนกว่าจะผ่าน จึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมินใหม่ เป็นระดับคุณภาพ “ 2” หรือ “ ดี”

2. นักเรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความหมาย โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

เกณฑ์การประเมินกำหนดเป็น 3 ระดับ
3 หมายถึง ดีเยี่ยม
2 หมายถึง ดี
1 หมายถึง ควรปรับปรุง

ถ้าได้ระดับคุณภาพ “ 1 ” หรือ “ ควรปรับปรุง ” หมายถึง ไม่ผ่านการประเมิน จะต้องเข้ารับการซ่อมเสริมและประเมินใหม่ โดยนักเรียนจะต้องมารับแบบคำร้องขอแก้การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความหมายที่ฝ่ายวิชาการ และนำมาส่งที่ครูประจำชั้นเพื่อรับการซ่อมเสริมและประเมินใหม่จนกว่าจะผ่าน จึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมินใหม่ เป็นระดับคุณภาพ " 2 " หรือ " ดี "

3. นักเรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

เกณฑ์การประเมินกำหนดเป็น 3 ระดับ
3 หมายถึง ดีเยี่ยม
2 หมายถึง ดี
1 หมายถึง ควรปรับปรุง

ถ้าได้ระดับคุณภาพ " 1 " หรือ “ ควรปรับปรุง ” หมายถึง ไม่ผ่านการประเมิน นักเรียนต้องเข้ารับการอบรมและปฏิบัติคุณความดี ตามที่โรงเรียนกำหนดจนครบถ้วน โดยนักเรียนต้องขอรับแบบคำร้องขอแก้การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ฝ่ายวิชาการ เมื่อได้รับการอบรมแล้วจึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมิน เป็นระดับคุณภาพ " 2 " หรือ " ดี "


4. นักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจะได้รับการประเมินผลเพื่อผ่านเกณฑ์ ๒ เกณฑ์ คือ
เกณฑ์การผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลากิจกรรมทั้งหมด
การตัดสินผลการประเมินกิจกรรมเป็น
“ ผ่าน ” เมื่อมีผลการประเมินผ่านทั้ง 2 เกณฑ์
“ ไม่ผ่าน ” เมื่อมีผลการประเมินผ่าน ไม่ครบทั้ง 2 เกณฑ์
ถ้าได้รับการประเมิน " ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม ตามเกณฑ์ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยนักเรียนต้องขอรับแบบคำร้องขอรับ การอบรมที่ฝ่ายวิชาการ เมื่อได้รับการซ่อมเสริมแล้วจึงจะได้เปลี่ยนผลการประเมิน เป็น “ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ”





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น